คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

  • Home
  • อารัมภบท
  • ภาคที่หนึ่ง
    • ส่วนที่หนึ่ง “ข้าพเจ้าเชื่อ” – “ข้าพเจ้าทั้งหลายเชื่อ”
      • บทที่หนึ่ง มนุษย์ “เข้าใจ” พระเจ้าได้
      • บทที่สอง พระเจ้าทรงพบกับมนุษย์
      • บทที่สาม มนุษย์ตอบสนองพระเจ้า
    • ส่วนที่สอง การยืนยันความเชื่อของคริสตชน
      • ตอนที่ 1 “ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ ทรงเนรมิตฟ้าดิน”
      • ตอนที่ 2 “ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรหนึ่งเดียวของพระเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย”
      • ตอนที่ 3 พระเยซูคริสตเจ้า “ทรงปฏิสนธิเดชะพระจิตเจ้า ทรงบังเกิดจากพระนางมารีย์พรหมจารี”
      • ตอนที่ 4 พระเยซูคริสตเจ้า “ทรงรับทรมานสมัยปอนทิอัสปีลาต ทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์ และทรงถูกฝังไว้”
      • ตอนที่ 5 “พระเยซูคริสตเจ้าเสด็จสู่แดนมรณะ วันที่สามทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย”
      • ตอนที่ 6 “พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ ประทับเบื้องขวาพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ”
      • ตอนที่ 7 “แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย”
      • ตอนที่ 8 “ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า”
      • ตอนที่ 9 “ข้าพเจ้าเชื่อพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์สากล”
      • ตอนที่ 10 “ข้าพเจ้าเชื่อการอภัยบาป”
      • ตอนที่ 11 “ข้าพเจ้าเชื่อการกลับคืนชีพของร่างกาย”
      • ตอนที่ 12 “ข้าพเจ้าเชื่อถึงชีวิตนิรันดร”
  • ภาคที่สอง
    • ส่วนที่หนึ่ง ระเบียบการเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์
      • บทที่หนึ่ง พระธรรมล้ำลึกปัสกาในช่วงเวลาของพระศาสนจักร
      • บทที่สอง การประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมฉลองพระธรรมล้ำลึกปัสกา
    • ส่วนที่สอง ศีลศักดิ์สิทธิ์เจ็ดประการของพระศาสนจักร
      • ตอนที่ 1 ศีลล้างบาป
      • ตอนที่ 2 ศีลกำลัง
      • ตอนที่ 3 ศีลมหาสนิท
      • ตอนที่ 4 ศีลแห่งการคืนดีและอภัยบาป
      • ตอนที่ 5 ศีลเจิมคนไข้
      • ตอนที่ 6 ศีลบวช
      • ตอนที่ 7 ศีลสมรส
      • การประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ชนิดอื่น ๆ
  • ภาคที่สาม
    • ส่วนที่หนึ่ง มนุษย์ได้รับเรียกให้ดำเนินชีวิตในพระจิตเจ้า
      • บทที่หนึ่ง ศักดิ์ศรีความเป็นบุคคลของมนุษย์
      • บทที่สอง ชุมชนมนุษย์
      • บทที่สาม ความรอดพ้นที่พระเจ้าประทานให้ – กฎหมายและพระหรรษทาน
      • พระบัญญัติสิบประการ
    • ส่วนที่สอง พระบัญญัติสิบประการ
      • ตอนที่ 1 พระบัญญัติประการแรก
      • ตอนที่ 2 พระบัญญัติประการที่สอง
      • ตอนที่ 3 พระบัญญัติประการที่สาม
      • ตอนที่ 4 พระบัญญัติประการที่สี่
      • ตอนที่ 5 พระบัญญัติประการที่ห้า
      • ตอนที่ 6 พระบัญญัติประการที่หก
      • ตอนที่ 7 พระบัญญัติประการที่เจ็ด
      • ตอนที่ 8 พระบัญญัติประการที่แปด
      • ตอนที่ 9 พระบัญญัติประการที่เก้า
      • ตอนที่ 10 พระบัญญัติประการที่สิบ
  • ภาคที่สี่
    • ส่วนที่หนึ่ง การอธิษฐานภาวนาในชีวิตคริสตชน
      • บทที่หนึ่ง การเปิดเผยเรื่องการอธิษฐานภาวนา มนุษย์ทุกคนได้รับเรียกมาให้อธิษฐานภาวนา
      • บทที่สอง ธรรมประเพณีเรื่องการอธิษฐานภาวนา
      • บทที่สาม ชีวิตการอธิษฐานภาวนา
    • ส่วนที่สอง บทภาวนา “ข้าแต่พระบิดา” ขององค์พระผู้เป็นเจ้า
      • ตอนที่หนึ่ง “สรุปพระวรสารทั้งหมด”
      • ตอนที่สอง “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์”
      • ตอนที่สาม คำวอนขอเจ็ดประการ
      • ตอนที่สี่ บทยอพระเกียรติสุดท้าย
  • ค้นหา

ส่วนที่สอง บทภาวนา “ข้าแต่พระบิดา” ขององค์พระผู้เป็นเจ้า

ส่วนที่สอง

บทภาวนา “ข้าแต่พระบิดา”

ขององค์พระผู้เป็นเจ้า

2759   “วันหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง เมื่อทรงอธิษฐานจบแล้ว ศิษย์คนหนึ่งทูลพระองค์ว่า ‘พระเจ้าข้า โปรดสอนเราให้อธิษฐานภาวนาเหมือนกับที่ยอห์นสอนศิษย์ของเขาเถิด’” (ลก 11:1) องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงตอบสนองคำขอนี้และทรงมอบบทภาวนาพื้นฐานของคริสตชนให้แก่บรรดาศิษย์และทรงฝากไว้กับพระศาสนจักรของพระองค์ นักบุญลูกามอบตัวบทของคำภาวนาบทนี้แบบสั้น (ซึ่งประกอบด้วยคำขอห้าข้อ)[1] นักบุญมัทธิวมอบคำภาวนาแบบยาวกว่า (มีคำขอเจ็ดข้อ)[2] ธรรมประเพณีด้านพิธีกรรมของพระศาสนจักรยึดถือตัวบทของนักบุญมัทธิวไว้ (มธ 6:9-13) ดังนี้

          ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์

          พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ

          พระอาณาจักรจงมาถึง

          พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์

          โปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้

          โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้าเหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น

          โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ

          แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ

 2760   ธรรมเนียมด้านพิธีกรรมตั้งแต่ในสมัยแรกๆ สรุปบทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้านี้ด้วย “บทยอพระเกียรติ” (Doxologia) ซึ่งในหนังสือ Didache เป็นข้อความว่า “เพราะพระอานุภาพและพระสิริรุ่งโรจน์เป็นของพระองค์ตลอดนิรันดร”[3] ในหนังสือ “ข้อกำหนดของอัครสาวก” (Constitutiones apostolicae) เพิ่มคำว่า “พระอาณาจักร”[4] ไว้เป็นคำแรก และสูตรนี้ยังคงรักษาไว้ในการอธิษฐานภาวนาคริสตศาสนสัมพันธ์ร่วมกัน ธรรมประเพณีไบซันตินเพิ่มวลี “ของพระบิดา และพระบุตร และพระจิตเจ้า” ไว้หลังคำว่า “พระสิริรุ่งโรจน์” หนังสือมิสซาจารีตโรมันขยายความของคำวอนขอสุดท้าย[5] เป็นการกล่าวอย่างชัดเจนถึงการรอคอยการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราด้วยความหวังที่ให้ความสุข[6] ต่อจากนั้นจึงตามด้วยการโห่ร้องของประชาชน หรือบทยอพระเกียรติของ “ข้อกำหนดของอัครสาวก” (“เหตุว่าพระอาณาจักร พระอานุภาพและพระสิริรุ่งโรจน์เป็นของพระองค์ตลอดนิรันดร”)

 

[1]  เทียบ ลก 11:2-4.

[2] เทียบ มธ 6:9-13.

[3] Didache, 8, 2: SC 248, 174 (Funk, Patres apostolici 1, 20).

[4] Constitutiones apostolicae, 7, 24, 1: SC 336, 174 (Funk, Didascalia et Constitutiones Apostolorum 1, 410).

[5] Cf Ritus Communionis [Embolismus]: Missale Romanum, editio typica (Typis Polyglottis Vaticanis 1970) p. 472.

[6] เทียบ ทต 2:13.

ตัวกรอง
รายการของเนื้อหาในหมวดหมู่ ส่วนที่สอง บทภาวนา “ข้าแต่พระบิดา” ขององค์พระผู้เป็นเจ้า
หัวเรื่อง ฮิต
ตอนที่หนึ่ง “สรุปพระวรสารทั้งหมด” ฮิต: 636
ตอนที่สอง “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์” ฮิต: 685
ตอนที่สาม คำวอนขอเจ็ดประการ ฮิต: 845
ตอนที่สี่ บทยอพระเกียรติสุดท้าย ฮิต: 587
คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก Catechism of the Catholic Church