โป๊ปฟรังซิสใช้คำ วัฒนธรรมทิ้งขว้าง (Throwaway Culture)  ในสุนทรพจน์หลายครั้ง  ทำให้ข้าพเจ้าสะกิดใจ  จึงค้นคว้าที่มาของคำนี้ ว่ามาจากคำว่า Throw - away Society สังคมทิ้งขว้าง   ปัจจุบันเราจึงหันมาสนใจรียูส  รีไซเคิ้ล กันมากขึ้น

สังคมทิ้งขว้างเป็นสังคมมนุษย์ที่ได้รับอิทธิพลจากบริโภคนิยม บริโภคมากเกินไป  ผลิตมากเกินต้องการ  สิ่งที่เหลือก็ทิ้ง    สิงหาคม ค.ศ. 1955 นิตยสาร Life ได้ตีพิมพ์บทความ “การดำเนินชีวิตทิ้งขว้าง” ต่อมาเริ่มมีขยะจากการห่อของ  พอแกะเอาของแล้วก็ทิ้งที่ใส่ของ  คนหนึ่ง  ปีหนึ่งทิ้งขยะกันมากเกินกว่ากำจัดได้  มีคนศึกษาเรื่องนี้สรุป ค.ศ. 2005 ว่าที่ใส่ของมี 32% เป็นขยะแข็งทนได้ 3 ปีประมาณ 27%  ขยะที่อยู่ทน 16%

ปี ค.ศ. 2002 ไต้หวันเริ่มใส่ใจลดขยะ  ในสถาบันและธุรกิจห้างร้านพยายามลดการใช้ถุงพลาสติก ปี ค.ศ. 2013 มีคณะกรรมการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมพยายามลดขยะในโรงเรียน 968 แห่ง หน่วยงานรัฐบาลและโรงพยาบาล

ในประเทศเยอรมนี  ออสเตรีย  และสวิสเซอร์แลนด์ มีกฎหมายควบคุมเรื่องการใช้วัสดุบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม  ทำให้ประชาชนสนใจปัญหาเรื่องนี้  เช่น  ปี ค.ศ. 1990  มีขยะ 11,000 ตัน  ปี ค.ศ. 1999 ลดเหลือ 550 ตัน (1 ตัน = 1000 กิโลกรัม)

ประเทศจีน ผลิตตะเกียบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 57 พันล้านคู่ทุกปี  ส่งไปนอกประเทศครึ่งหนึ่ง  ตะเกียบทำจากต้นไม้  ประมาณ 3.8 ล้านต้น  ประเทศญี่ปุ่นใช้ตะเกียบ 24 พันล้านคู่ทุกปี ทั่วไปแล้วคน 1.4 ล้านคน ใช้ตะเกียบ 80 พันล้านคู่แล้วทิ้ง ฉะนั้นการรณรงค์เรื่องนี้มีผลดี

ค.ศ. 2004  มหาวิทยาลัยอาริโซนา สหรัฐอเมริกา วิจัยว่า 40-50 % ของอาหารเหลือแล้วทิ้ง คิดเป็นราคาประมาณ 43 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 1,290 พันล้านบาท)

โป๊ปฟรังซิสได้ใช้คำ วัฒนธรรมทิ้งขว้าง เวลาตรัสเกี่ยวกับการทำแท้ง ซึ่งพระศาสนจักรคาทอลิกถือว่าเป็นความชั่วร้ายแรง (intrinsic evil)  พระองค์ตรัสยืนยันว่าวัฒนธร รมทิ้งขว้าง  แม้ชีวิตมนุษย์ก็ถูกถือว่าจัดการได้  พระองค์ชี้ให้เห็นอันตรายของวัฒนธรรมนี้ ซึ่งสัมพันธ์กับการอพยพย้ายถิ่น (immigration) 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 พระองค์ ตรัสว่า “การเปลี่ยนทัศนคติการป้องกันและความกลัว  จำเป็นสำหรับทุกคน ให้ทิ้งทัศนคติ การป้องกัน และความกลัวการไม่สนใจกันและทอดทิ้งคนจน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทิ้งข ว้าง หันมาสู่ทัศนคติแห่งการพบปะ (encounter) วัฒนธรรมเดียวเท่านั้นที่สามารถสร้างโลกที่เป็นพี่น้องกัน  ยุติธรรมมากขึ้น และดีขึ้น (โอวาทเกี่ยวกับ  การปกป้องบรรดาลูก ของผู้อพยพ – 22 ก.ค. 2014)       จาก wikipedia

ป๊ปฟรังซิสกระตุ้นชาวยุโรปต่อต้าน “วัฒนธรรมทิ้งขว้าง”
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 เมืองสตราสบูร์ก  ประเทศฝรั่งเศส  โป๊ปกระตุ้นผู้นำยุโรปต่อต้าน วัฒนธรรมทิ้งขว้าง ว่าทำให้ประชาชนตกไปสู่การทำแท้งและการช่วยทำให้ตายอย่างสงบ (Euthanasia)

พระองค์ตำหนิสไตล์ชีวิตเห็นแก่ตัว และลัทธิบริโภคนิยมที่ควบคุมไม่ได้  เพราะทำให้มน ุษย์แปลกแยกกันและไม่สนใจกัน  เป็นพิเศษต่อคนยากจน ในเวลามีวิกฤติเศรษฐกิจ... เมื่อมนุษย์คนหนึ่งถูกคิดว่าไม่มีประโยชน์ ก็ถูกตัดออกไป  เช่น กรณีคนเจ็บป่วย คนชรา ผู้ถูกทอดทิ้ง  ไม่มีใครเอาใจใส่  และเด็กๆ ที่ถูกฆ่าในครรภ์มารดา

ศักดิ์ศรีมนุษย์มีความหมายที่เราได้รับเปล่าๆ  ไม่ใช่เป็นสิ่งของสำหรับค้าขาย การทำแ ท้ง  การค้นคว้าปลูกเซลล์ทางชีววิทยา  และการุณยฆาต  เป็นเหมือนการเล่นกับชีวิต เป็นบาปต่อต้านพระเจ้า

ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน โป๊ปขอให้ช่วยเหลือผู้อพยพมากมายให้หนีออกจากประเทศซีเร ีย อิรัก  และอาฟริกาเหนือ เข้าไปในยุโรป

 

                                                           พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์ สรุ ป
                                                                               20 กุมภาพันธ์ 2015

Home