จาก Aleteia, 26 พฤษภาคม 2021  โดย มารีอา โลซาโน ACN

Aid  to the Church in Need (ACN) เป็นหน่วยงานในพระศาสนจักรคาทอลิก  ที่ช่วยเหลือพระศาสนจักรในประเทศที่ต้องการความข่วยเหลือ ตั้งในปี ค.ศ.1947 (หลังสงคามโลกครั้งที่ 2)

เรยีนา ลินซ์  ผู้อำนวยการโครงการต่างๆ ที่ช่วยงานอภิบาลและสงเคราะห์ของพระศาสนจักรคาทอลิกนานาชาติ  ได้กล่าวว่า “เราตื่นเต้นมากที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ออกสมณลิขิตอัตตาณัติ “ศาสนบริกรดั้งเดิม” เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2021  เกี่ยวกับครูคำสอนศาสนบริการฆราวาส  ให้มีพิธีแต่งตั้งเป็นทางการ

โครงการของเราสนับสนุนงานมากว่า 140 ประเทศในโลก ที่มีครูคำสอนเป็นกระดูกสันหลังของพระศาสนจักร  เป็นพิเศษในเขตที่อยู่ห่างไกล  ซึ่งบาทหลวงไปเยี่ยมวัดได้นานๆครั้ง  หรือในประเทศที่มีสงคราม และการเบียดเบียน ทำให้งานในเขตวัดมีความยากลำบาก บรรดาครูคำสอนจึงเป็นผู้ที่เราติดต่อได้ เป็นผู้ช่วยเหลือ และเป็นผู้ทำงานอภิบาล

ครูคำสอนรับผิดชอบงานอภิบาลในเขตที่ไม่มีบาทหลวง บางครั้งพวกเขาไม่มีรายได้  สำหรับความกล้าหาญ และความศรัทธา ที่ ทุ่มเทชีวิต  ตัวอย่างเช่น  ฟิลิปเป้  ยาร์กา  จากมิสซังโดรี ประเทศบูร์กีนา ฟาโซ
 
ยาร์กา ได้รับผิดชอบประสานงานอภิบาลในภาคตะวันออกของประเทศบูร์กีนา  ฟาโซ  ชายแดนประเทศไนจีเรีย  เขาได้ถูกผู้ก่อการร้ายฆ่าตาย เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์  2020  เขามีลูก  7 คน  คนสุดท้องอายุเพียง 6 สัปดาห์  ตอนเขาถูกฆาตกรรม  บรรดาครูคำสอนในบูร์กีนา ฟาโซ และบางเขตของซาเฮล ( Sahel ) ถูกผู้ก่อการร้ายขู่เข็ญ และบังคับให้พาครอบครัวหนีออกไปยามค่ำคืน  หน่วยงาน ACN  กำลังช่วยผู้นำครูคำสอน  18 คน ที่ไร้ที่อยู่อาศัย  และช่วยครอบครัวให้อยู่รอดได้

หน่วยงาน ACN สนับสนุนครูคำสอน  ใน ค.ศ.2020 เราอนุมัติความช่วยเหลือครูคำสอนมากว่า 18,000 คน  ทั่วโลก ส่วนใหญ่ในทวีปอาเซีย และทวีปอาฟริกา   ปีที่แล้วเราได้สนับสนับ 20 โครงการ  ให้ครูคำสอนมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงาน และการสอนคำสอน  อนุมัติ 35 โครงการเน้นการอบรมครูคำสอนใน 18 ประเทศ

ครูคำสอนในประเทศอูกันดา  สอนการให้อภัย แทน การแก้แค้น จอห์น  โจเซฟ กาซี   ชาวยูกันดา เป็นครูคำสอนคนหนึ่งที่ได้รับความช่วยเหลือจากเรา เขามาจากประเทศซูดานใต้ ที่เพิ่งได้รับอิสรภาพในปี 2011 มีความขัดแย้งรุนแรง แย่งชิงอำนาจ ระหว่างเผ่า  บิดา และพี่น้องทุกคนถูกฆาตรกรรม เขาหนีไปยูกันดา  ซึ่งมีผู้ลี้ภัยประมาณ หนึ่งล้านคน อาศัยในค่ายอพยพ

จอห์น เชื่อว่า พระเจ้าส่งเขาไปที่นั่น เพื่อสอนการให้อภัย มิใช่การแก้แค้น  จอห์น พยายามไปเยี่ยมเยียนชาวบ้าน ฟังเรื่องราวต่างๆ  ให้กำลังใจและความช่วยเหลือ เขามิได้สอนความเชื่อเท่านั้น แต่ว่าให้กำลังใจ เพราะนอกจากสงคราม  ความยากจน การไม่มีงานทำ  ยังมีปัญหาในค่ายอพยพ เช่น การดื่มสุราอีกด้วย...ขอบคุณที่ผมเป็นครูคำสอน  นำความหวัง  และความรักมาให้ประชาชนของผม

                                                                                                                                         ฟ.วีระ  อาภรณ์รัตน์ สรุป
                                                                                                                                                 27/5/2021