(ข่าว CNA 29 ธันวาคม 2017)
93 ปีมาแล้ว ดอนโอรีโอเน  ชาวอิตาเลี่ยนได้ตั้งคณะซิสเตอร์แห่งศีลศักดิ์สิทธิ์  (Sacramentine Sisters of Don  Orione) ถวายการตาบอดของพวกเขา  เพื่อความรอดของโลก

คณะซิสเตอร์ที่ตาบอดได้ตั้งใจนมัสการศีลมหาสนิท  ตลอดวัน (24 ชั่วโมง)  และสวมชุดนักบวชสีขาว  เสื้อคลุมสีแดง  และสัญลักษณ์ศีลมหาสนิทสีขาวปักอยู่บนหน้าอกเสื้อคลุม

นักบุญ ลุยจิ โอรีโอเน ได้พูดกับสมาชิกเมื่อตั้งคณะเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1927 ว่า “พ่อตั้งใจถวายสาขาใหม่ในครอบครัวนักบวช เหมือนดอกไม้หน้าบัลลังก์ของพระนางพรหมจารี เพื่อพระนางถวายดอกไม้นี้แด่พระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท”

คณะนี้เป็นสาขาของซิสเตอร์ธรรมทูตเล็กๆแห่งเมตตาธรรม (LMSC) มีพันธกิจ  ตามธรรมน ูญ คือถวายสายตาสำหรับผู้ยังไม่รู้จักความจริง  เพื่อให้พวกเขามาหาพระเจ้า ผู้เป็นแสงสว่างของโลก

นักบุญลุยจิ  โอรีโอเน  ขอให้ นมัสการศีลมหาสนิท  และพลีกรรมเพื่อการเผยแผ่ธรรมข องคณะ LMSC และ คณะบุตรแห่งพระญาณเอื้ออาทรซึ่งนักบุญเป็นผู้ตั้งทั้ง 2 คณะ

คณะนี้มีสมาชิกในประเทศอิตาลี สเปน  ฟิลิปปินส์  เคนย่า อาร์เจนติน่า บราซิล และชิ ลี อยู่ในประเทศชิลีตั้งแต่ ค.ศ.1943   เวลาอยู่ต่อหน้าศีลมหาสนิท บรรดาซิสเตอร์ภาวนาคำวอนขอมากมายที่ได้รับจากสัตบุรุษ  โดยผ่านเฟสบุ๊ค  ถวายคำอธิษฐานทุกข้อที่ได้รับ

ซ.มารีอา ลุซ โอเคด้า ได้รับอุบัติเหตุเมื่อเป็นเด็ก  ทำให้เธอค่อยๆมองไม่เห็น จนอายุ 30 ปี  ตาบอดสนิท   เธอกล่าวว่า “บางครั้ง ซิสเตอร์ขอบคุณพระเจ้า เพราะการตาบอดข องเธอ  ทำให้เธอเข้าคณะนี้   มีโอกาสนมัสการต่อหน้าศีลมหาสนิท และบอกพระเยซูเจ้าว่า  แบบนี้ทำให้ซิสเตอร์ช่วยพระองค์ไถ่กู้วิญญาณ”

ทุกวันในเวลาภาวนา  และเฝ้าศีลมหาสนิท เราถวายความยากจน ความทุกข์  และความเศร้าของมนุษยชาติ แด่พระเจ้า แต่ละวันมีความตั้งใจพิเศษคือ

วันจันทร์  เพื่อบรรดาผู้ป่วยวันอาคารเพื่อเยาวชน
วันพุธ เพื่อสันติภาพวันพฤหัสบดีเพื่อกระแสเรียก
วันศุกร์เพื่อคนชราวันเสาร์ เพื่อเด็กๆ
วันอาทิตย์เพื่อครอบครัว

หมายเหตุ   นักบุญ ลุยจิ  โอรีโอเน  เกิด 23 มิถุนายน ค.ศ.1872 สิ้นใจ 12 มีนาคม  ค.ศ.1940 เป็นบาทหลวง ชาวอิตาเลี่ยน เคยเรียนในศูนย์เยาวชนของคณะซาเลเซียนที่เมืองต ุรินกับคุณพ่อบอสโก ท่านเด่นในเรื่องเมตตา ช่วยเด็กกำพร้า คนพิการ อบรมเยาวชน และคนยากจน ถูกทอดทิ้ง

โป๊ปยอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งเป็นนักบุญ วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2004

                                                                                                                                     ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์  แปล