อันดับแรก  ให้ตระหนักว่านี่ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งสังฆมณฑลใหม่เท่านั้น  แต่ยังเกี่ยวกับการกำหนดเขตในแผนที่ต่างๆ อย่างแน่นอน  ยกระดับเท่ากับสังฆมณฑล ซึ่งประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 368 ระบุไว้ชัดเจน

ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 373 กำหนดว่า “ผู้ทรงอำนาจสูงสุดแต่ผู้เดียวเท่านั้น มีอำนาจจัดตั้งพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น เมื่อได้ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว พระศาสนจักรเฉพาะถิ่นก็เป็นนิติบุคคลโดยตัวบทกฎหมายเอง”

สมณกฤษฎีกาว่าด้วยหน้าที่ของพระสังฆราชในการอภิบาลสัตบุรุษ (CHRISTUS DOMINUS, nn. 22-24)  ของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2  กำหนดกฎเกณฑ์เพื่อการฟื้นฟูเขตต่างๆ ของพระศาสนจักร  ในเอกสาร Motu Proprio “ECCLESIAE SANCTAE” (121) ได้ยืนยันระเบียบการปฏิบัติแบบเดียวกัน กฎเกณฑ์บางส่วนเหล่านี้ใช้สำหรับการตั้งแขวงใหม่ของพระศาสนจักรด้วย

ในประมวลกฎหมายของพระศาสนจักรมาตรา 431 วรรค 1 ระบุว่า: “พระศาสนจักรเฉพาะถิ่นที่อยู่ใกล้กัน ต้องรวมกันเป็นแขวงของพระศาสนจักรอันมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เพื่อกิจการด้านการอภิบาลร่วมกันของสังฆมลฑลที่อยู่ใกล้กัน เพื่อจะได้รับการสนับสนุนตามสภาพของบุคคลและสถานที่ และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพระสังฆราชสังฆมณฑลด้วยกันเองให้ดียิ่งขึ้น”    วรรค 3 ของมาตราอันเดียวกันนี้ ระบุว่า “ผู้ใหญ่สูงสุดของพระศาสนจักรแต่ผู้เดียว  มีอำนาจการตั้ง  การยุบ  หรือ  การเปลี่ยนแปลงแขวงของพระศาสนจักร  หลังจากที่ได้ฟังความคิดเห็นของพระสังฆราชที่เกี่ยวข้องแล้ว”

การนำเสนอมิใช่เพียงความคิดแบบลอยๆ หรือปราศจากการไตร่ตรองอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่านั้น แต่จะต้องอธิบาย  หรือให้คำชี้แจงแบบที่เป็นรูปธรรมด้วย เราสามารถกล่าวว่า  สันตะสำนักยินดีรับข้อเสนอของบรรดาพระสังฆราชเสมอ เพื่อการพิจารณาและการรับหลักการ  ต่อเมื่อผู้นำเสนอต้องดำเนินตามเงื่อนไข อันสรุปได้ดังต่อไปนี้

ก)จำเป็นที่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง  ได้มีโอกาสแสดงความเห็นเรื่องดังกล่าวด้วย
ข)จำเป็นต้องถือตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุไว้ในเอกสารข้างต้น
ค)เป็นพิเศษต้องมีจำนวนพระสงฆ์พอสมควรเพื่อจะอภิบาลสัตบุรุษให้ดำเนินไปอย่างดี
ง)บุคลากรที่ทำงานทั้งในด้านอภิบาล  ในด้านการอบรม และในด้านการสงเคราะห์  ของสังฆมณฑลแม่  และของเขตใหม่ ต้องแบ่งเท่าเทียมกันโดยให้คำนึงถึงสถานะตามความเป็นจริงทุกประการ
จ)จำเป็นต้องแบ่งบรรดาสามเณรใหญ่ด้วย  ซึ่งตามปกติให้ถือหลักว่าเขาเหล่านั้นต้องอยู่ในเขตซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตนเอง
ฉ)อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดเพื่อการตั้งสังฆมณฑลใหม่ คือ การสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นพระสังฆราช (คนแรก) ของสังฆมณฑลใหม่  แน่นอนเขาจะต้องมีความสามารถดูแลฝูงแกะ และจัดการในสิ่งที่จำเป็นต่างๆ อย่างพิเศษ

แน่นอนในเรื่องการตั้งสังฆมณฑลใหม่นี้ต้องได้รับการรับรองและแสดงความคิดเห็นจากบรรดาพระสังฆราชในสภาพระสังฆราชของประเทศนั้น  เพราะถ้าปราศจากการสนับสนุนและความช่วยเหลือของท่านเหล่านั้น  ผู้มีอำนาจสูงสุดของสันตะสำนักไม่สามารถที่จะตัดสินอย่างเด็ดขาดได้  ส่วนผู้แทนพระสันตะปาปา (พระสมณทูต) นั้นต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบรรดาพระสังหราชท้องถิ่น เพื่อจะได้สามารถแนะนำในสิ่งที่เอื้อประโยชน์แก่ศาสนจักรท้องถิ่น  และท่านต้องแสดงความคิดเห็นของท่านเอง  ต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องของสันตะสำนัก

มงซินญอร์วิษณุ ธัญญอนันต์ เสนอต่อที่ประชุมคณะสงฆ์
และสภาภิบาลสังฆมณฑลเชียงใหม่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2014