สมัยปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยีมากมาย  ว่องไว  แต่ดูเหมือนเยาวชนและประชาชนค่ อยๆ ห่างศาสนา    ประสบปัญหาในชีวิตและสังคม  คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม  เรียกร้องความยุติธรรม (จากคนอื่น)  ขาดความซื่อสัตย์สุจริต (คอรัปชั่น)  ค้ายาเสพติดมากขึ้น  รุนแรงข ึ้น ฯลฯ  เราจะเริ่มแก้ปัญหาจากตรงไหน บางคนแนะนำพ่อว่า  ต้องหันมาเฝ้าศีลมหาสนิท จัดเฝ้าศีลมหาสนิท 24 ชั่วโมง สอนเด็ก - เยาวชนให้ศรัทธาต่อพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท เพราะเขาสังเกตว่าคริสต ชนหลายคนขาดความเชื่อ ไม่อดอาหาร 1 ชั่วโมงก่อนรับศีลฯ

ตามคำสอนของพระศาสนจักร ไม่ค่อยรับศีลอภัยบาป แต่ไปรับศีลมหาสนิท ออกจากวัดก็แยก
ย้ายกันกลับบ้าน  จะเป็นวิถีชุมชนคริสตชนอย่างไร

หากท่านลองหันมาค้นทางเว็บไซท์  การนมัสการ (เฝ้า) ศีลมหาสนิท  Eucharistic Adoration  และ  Visits to the  Blessed Sacrament มีคำตอบมากมาย  ทำให้ทราบว่าหลายประเทศมีการส่งเสริมความศรัทธาต่อศีลมหาสนิท  การเฝ้าศีลมหาสนิททั้งวัน (Perpetual Eucharistic  Adoration) สำหรับในประเทศไทย พระสงฆ์  นักบวช ครูคำสอนส่วนใหญ่ ไม่ได้สอนเรื่องนี้ ละเลยเรื่องนี้จริงๆ ฉะนั้นเราน่าจะทำอะไรง่ายๆ ... สม่ำเสมอ... เพื่อฟื้นฟูชีวิตชุมชนของเราดีไหม

ประวัติพัฒนาการของการเฝ้าศีลมหาสนิท มีตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 13 ซิสเตอร์บางคณะเริ่ม  แต่ละวันด้วยการไปเฝ้าศีลมหาสนิท  นักบุญโทมัส แบคเก็ต  (ค.ศ. 1118-1170)  เคยเขียน
จดหมายถึงเพื่อนในเรื่องนี้ และในปลายศตวรรษที่14ประชาชนปฏิบัติเรื่องนี้เป็นประจำ

ในกฎหมายพระศาสนจักรฉบับเดิม (27 พฤษภาคม ค.ศ.1917)  ส่งเสริมให้สัตบุรุษไปเฝ้าศีลมหาสนิทบ่อยๆ (ม. 1273)  ในฉบับปัจจุบัน (25  มีนาคม  ค.ศ. 1983) สอนว่า “เว้นแต่จะมีเหตุผลหนักขัดขวาง  วัดซึ่งเก็บรักษาศีลมหาสนิท  ต้องเปิดอย่างน้อยสองสามชั่วโมงทุกวัน เพื่อให้สัตบุรุษสามารถภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท”  (CIC 937)

นักพรต ต้องร่วมถวายบูชามิสซาทุกวันเท่าที่จะทำได้  ต้องรับศีลมหาสนิทและนมัสการพระเจ้าองค์เดียวกัน ผู้ประทับอยู่ในศีลมหาสนิท  (CIC 663 วรรค 2)

การอวยพรศีลมหาสนิท พระศาสนจักรคาทอลิกมีวันสมโภชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า (Corpus  Christi)  นักบุญโทมัสอไควนัส  (ค.ศ. 1225-1274) ได้แต่งเพลง O  Salutaris Hostia และ Tantum Ergo สำหรับพิธีอวยพรศีลมหาสนิท

ในประเทศฝรั่งเศส เยอร มนี  และอังกฤษ ค่อยๆ มีการแห่ศีลมหาสนิท  การอวยพรผู้ป่วยด้วยศีลมหาสนิท การมีความศรัทธาต่อแม่พระ  เช่นที่เมืองลูร์ด ประเทศฝรั่งเศส ก็รวมการอวยพรศีลมหาสนิทกับความศรัทธาต่อแม่พระเช่นกัน

การชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท (Eucharistic Congress) สตรีชาว  ฝรั่งเศสชื่อ มารีย์ มาร์ท  ทามีซีเยร์    (ค.ศ. 1834-1910) เป็นผู้ริเริ่มทำให้ เกิดการชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทนา นาชาติ ครั้งแรกที่เมืองลีล์ค.ศ. 1881 ระยะหลังจนถึงปัจจุบันมีการจัดชุมนุมทุก  4 ปี  ครั้งที่  50  ที่เมืองดับลิน  ประเทศไอร์แลนด์ (10-17 มิถุนายน ค.ศ. 2012)  หัวข้อ  ศีลมหาสนิท : ความสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าและกับกันและกัน


การชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท เป็นการแสดงความเชื่อที่สำคัญของชุมชนต่อพระเยซูเจ้า ในศีลมหาสนิท ว่าพระองค์ประทับกับเราในศีลศักดิ์  สิทธิ์ ทรงเดินทางกับเราในชีวิต เพื่อเราจะสามารถขจัดปัญหาและความทุกข์ยากลำบากต่างๆโดยอาศัยพละกำลังของพระองค์

ผลของการภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท พระเยซูเจ้าประทับในศีลมหาสนิท  มิใช่ให้เรานมัสการเท่านั้น  แต่อธิษฐานภาวนาขอพรได้ด้วย  ในพระวรสาร เมื่อนักบุญโทมัสได้พบพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพ ได้กล่าวว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า” พระ เยซูเจ้าตรัสว่า  “ท่านเชื่อเพราะได้เห็นเรา ผู้ที่เชื่อแม้ไม่ได้เห็น ก็เป็นสุข” (ยน  20: 28-29)    พระองค์ตรัสถามเราว่า  ต้องการให้พระอง ค์ ทำสิ่งใด  เหมือนกับคนตาบอดสองคนนั้น เขากล่าวว่า  “พระเจ้าข้า ขอให้ตาของเรามองเห็นได้เถิด  พระเยซูเจ้าทรงสงสาร ทรงสัมผัส
นัยน์ตาของเขา  ทันใดนั้น เขากลับมองเห็น และติดตามพระองค์ไป”  (มธ 20: 33-34) หรือหญิงตกเลือดมา  12 ปีแล้วที่คิดว่า  “ถ้าฉันเ พียง ได้สัมผัสฉลองพระองค์เท่านั้น ฉันก็จะหายจากโรค”  (มก 5: 28)   มีหลายคนศรัทธาต่อศีลมหาสนิท  เขาได้รับพระพรตามความจำ
เป็น ดังที่พระเยซูเจ้าทรงสัญญาว่า  จะอยู่กับเราทุกวันตลอดไป  ตราบจนสิ้นพิภพ  (มธ 28: 20)

ประสบการณ์ชีวิตจิต เราได้รับกำลังใจที่พระเจ้าทรงช่วยแก้ปัญหา  อุปสรรค ความอ่อนแอตามธรรมชาติมนุษย์  ความทุกข์ การทดลอง ทำ
ให้เราชนะอุปสรรคนั้นๆ ได้

นักบุญยอห์น  ฟิชเชอร์ (ค.ศ. 1469-1535) และนักบุญโทมัส  โมร์  (ค.ศ. 1478-1535) มีความศรัทธาต่อศีลมหาสนิท  ท่านทั้งสอง
เป็นมรณสักขี ในประเทศอังกฤษสมัยพระเจ้าเฮนรี่ ที่  8 ในบทภาวนาของนักบุญโทมัส  โมร์  ได้รับการพิมพ์หลังมรณกรรมของท่าน  กล่าว
ว่า “ข้าแต่พระเยซูคริสตเจ้าผู้อ่อนหวาน เมื่อรำพึงถึงพระมหาทรมานแสนเจ็บปวดที่สุดที่พระองค์ได้รับ ให้กำลังใจข้าพเจ้า โปรดประทาน
พระหรรษทานให้อยู่ต่อหน้าพระองค์ในศีลมหาสนิท  เป็นพิเศษให้ชื่นชมเมื่อมีโอกาสอยู่ต่อหน้าพระองค์ในศีลมหาสนิทบนพระแท่น ลูกขอบ
คุณพระองค์ที่ประทับที่นี่”

นักบุญฟรังซิส  เซเวียร์ (ค.ศ. 1506-1552)  หลังจากเทศน์และโปรดศีลล้างบาปทั้งวัน ท่านใช้เวลาตอนกลางคืนอธิษฐานภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท

นักบุญมารีย์ มักดาเลนา  เด  ปัสซี (ค.ศ. 1566-1607)  เป็นภคินีคาร์เมไลท์ตั้งแต่อายุ  17 ปี ได้แ นะนำสัตบุรุษที่มีธุระยุ่ง  ให้หาเวลาทุกวัน ภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท ท่านเขียนว่า “เพื่อนจะไปเยี่ยมเพื่อนทักทายกันทุกเช้า ในตอนเย็นก็จะหาโอกาสสนทนากันถึงสิ่งที่พบในวันนั้น  และกล่าวราตรีสวัสดิ์  ฉั นใด  การไปเยี่ยมพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท  ถ้าเราทำได้ มีเวลาไปที่เชิงพระแท่น ภาวนาอย่างดี ทุกครั้งที่ท่านไปเยี่ยมพระผู้ไถ่ คิดถึงพระองค์ผู้ถวายชีวิตแด่พระบิดา  ท่านจะได้รับพระพร ได้รับความรักจากพระองค์”

นักบุญมาร์การีตา มารีย์ อาลาก๊อก (ค.ศ. 1647-1680) ภคินีคณะ
แม่พระเสด็จเยี่ยม  รักการเฝ้าศีลมหาสนิท  ได้รับพลกำลังจากพระเจ้า แม้จะพบการดูหมิ่น การขัดแย้ง เหยียดหยาม จากคนใกล้เคียง แต่เธอ ก็ไม่บ่น และภาวนาเพื่อเขาเหล่านั้นที่ประพฤติไม่ดีต่อเธอ

นักบุญอัลฟองโซ มารีย์ เด ลีกวอรี  (ค.ศ. 1696-1787) ผู้ตั้งคณะ
สงฆ์พระมหาไถ่  และนักบุญองค์อุปถัมภ์ของผู้ฟังแก้บาป  ได้เขียนหนังสือ  การเฝ้าศีลมหาสนิท นักบุญได้แนะนำว่า  “จงถอนตัวจากประชาชนและ
ใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาที  หรือ  30 นาที ในวัดอยู่ต่อหน้าศีลมหาสนิท จงลิ้มรสดูว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอ่อนหวานเพียงไร  ท่านจะได้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ว่าท่านจะได้รับพระหรรษทานมากมายอย่างไร”

นักบุญยอห์น  มารีย์  เวียนเนย์ เจ้าอาวาสแห่งอาร์ส  (ฝรั่งเศส ค.ศ. 1786-1859) ได้สอนสัตบุรุษว่า  “พระเยซูเจ้าทรงถูกซ่อนอยู่ในตู้ศีลฯ รอคอยเราให้มาเยี่ยมพระองค์ และขอพรจากพระองค์... ในสวรรค์ที่เราจะ
รับสิริรุ่งโรจน์และชัยชนะ  เราจะเห็นพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์  ถ้าพระเจ้าทรงแสดงองค์ต่อหน้าเราในสิริรุ่งโรจน์  บัดนี้เราจะไม่กล้าไปหาพระองค์หรือ”  ท่านนักบุญใช้เวลาวันละหลายชั่วโมงภาวนาต่อหน้าศีลมหาสนิท ในระหว่างที่ท่านเทศน์ บ่อยครั้งท่านจะหันไปทางตู้ศีลฯ กล่าวอย่างศรัทธาว่า  “พระองค์ทรงอยู่ที่นั่น”

พระหรรษทานมาถึงเราโดยอาศัยพระเยซูเจ้า

พระศาสนจักรคาทอลิกสอนเรื่องศีลมหาสนิทว่า พระเยซูคริสตเจ้าประทับอยู่ในศีลมหาสนิทแท้จริง  ภายใต้รูปปรากฏของปังและเหล้าองุ่น เป็นพระ คริสตเจ้าทั้งครบ คือทั้งพระเป็นเจ้าและมนุษย์  (ประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก 282) ผลของการรับศีลมหาสนิททำให้เราสนิทสัมพันธ์  กับพระคริสตเจ้า กับพระศาสนจักร รักษาและฟื้นฟูชีวิตพระหรรษทาน    ทำให้เราเติบโตขึ้นในความรักต่อผู้อื่น  ชำระบาปและปกปักษ์รักษาเราให้พ้นจากบาปหนักในอนาคต(ประมวลฯ  292)

ดังที่เราอ่านในพระวรสาร พระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนแปลงบุคคลที่สัมผัสพระองค์ เช่นพระแม่มารีย์ นักบุญยอ ห์น  แบปติสต์  เวลาที่เอลีซาเบ็ธได้ยินแม่พระทักทาย งานสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี  ทรงทำตามที่แม่พระขอร้อง พระเยซูตรัสกับคนรับใช้ว่า  “จงตักน้ำใส่โอ่งให้เต็ม” เมื่อผู้จัดงานเลี้ยงได้ชิม น้ำกลา ยเป็นเหล้าองุ่น

พระเยซูเจ้าทรงเทศนาสั่งสอน ทรงให้อภัยคนบาป  ทรงรักษาคนตาบอด ทรงรักษาคนป่วย ฯลฯ  ตลอดชีวิตเปิดเผย  พระองค์ทรงให้ความ   สว่างแก่ผู้ฟัง ฟื้นฟูมิตรภาพ  ทรงช่วยนำสันติสุขถาวรมาสู่มวลมนุษย์ ดังอารัมภบทพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น  ที่ว่า “เพราะ พระเจ้าได้ประทานธรรมบัญญัติผ่านทางโมเสส  แต่พระหรรษทานและความจริงมาทางพระเยซูคริสตเจ้า”  (ยน 1: 17) ทำไม...  เพราะพระ
คริสตเจ้าเป็นพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้า  ผู้รับสภาพมนุษย์  และประทับในศีลมหาสนิท เพื่อประทับต่อเนื่องอยู่ท่ามกลางเรา  ใคร ที่มีความเชื่อ อธิษฐานกับพระองค์ในศีลมหาสนิท  จึงจะมีประสบการณ์ที่พระศาสนจักรคาทอลิกสอน

ตั้งแต่นี้ไป ให้เราพยายามไปนมัสการ (เฝ้า) ศีลมหาสนิท  อธิษฐานภาวนาให้พระองค์ประทานพละกำลัง  และแรงบันดาลใจแก่เรา  และแก่พี่น้องในชุมชนของเรา

พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์  แปลสรุป
จาก  John  A. Hardon, S.J.,
The History of Eucharistic Adoration.
www.therealpresence.org
22 มิถุนายน ค.ศ. 2012

Home

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ)  ถ.นนทรี  ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120