“สิ่งที่เราได้เห็นและได้ฟังนี้ เราประกาศ  ให้ท่านทั้งหลายรู้ด้วย  เพื่อท่านจะได้สนิทสัมพันธ์  กับเรา  ความสนิทสัมพันธ์นี้ คือความสนิทสัมพันธ์  กับพระบิดา  และกับพระบุตรของพระองค์ คือ  พระเยซูคริสตเจ้า  เราเขียนเรื่องนี้ถึงท่าน  เพื่อความปิติยินดีของเราจะได้สมบูรณ์” (1 ยอห์น 1:3-4)

        เราผู้แทนจาก 14 ประเทศในสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชียร์จำนวน  42  คน  มาประชุมที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (บางนา)  ประเทศไทยระหว่าง 23-27  ตุลาคม  2006  เพื่อไตร่ตรองและอภิปรายปัญหาเรื่องคำสอนครอบครัว การประชุมครั้งนี้จัดโดยสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชียหน่วยงานการศึกษาและจิตตาภิบาล  (FABC-OESC) หัวข้อเกี่ยวกับครอบครัวได้รับการอภิปรายในหลายระดับของ FABC ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา  อาศัยผลของการทำงานเหล่านั้น เราต้องการพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันว่ามีผลต่อเรื่องการสอนคำสอนของเราอย่างไร  จะถ่ายทอดความเชื่อสู่คนรุ่นใหม่อย่างไร  บทบาทครอบครัวจะเป็นทั้งเนื้อหา  ผู้ปฏิบัติและสถานที่ของการสอนคำสอนด้วยอย่างไร

        ดังนั้นการนำเสนอในการประชุมนี้ เน้นสภาพจริงของการสอนคำสอนครอบครัว ในทวีปเอเชีย เราเริ่มด้วยการตระหนักถึงปัญหามากมายและการท้าทายที่ครอบครัวปัจจุบันได้รับ ในฐานะพระศาสนจักรเราพยายามพูดถึงครอบครัวในอุดมคติในหลายทาง เช่น ครอบครัวที่ผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายมีความเชื่อเดียวกัน  มีความสัมพันธ์ที่มั่นคง แม่อยู่ที่บ้านเลี้ยงดูและช่วยอบรมลูก ได้รับการอภิบาลโดยวัดและชุมชน ให้พ้นจากองค์ประกอบที่ไม่ดีที่มีผลกระทบต่อผู้อื่น

        อย่างไรก็ตาม ครอบครัวอุดมคตินานๆจึงจะมี ถึงแม้ว่าชาวเอเชียมีโครงสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง โลกปัจจุบันในประเทศของเราได้รับผลความกดดันรุนแรงที่มีแนวโน้มทำลายสถาบันครอบครัว  ทำให้สอนคำสอนยิ่งทียิ่งลำบาก  ความกดดันด้านเศรษฐกิจบ่อยๆ  เป็นเหตุให้ทั้งพ่อแม่ทำงาน  บางครั้งผู้ปกครองทำงานห่างจากครอบครัว ความกดดันด้านการศึกษาเป็นเหตุให้บรรดานักเรียนใช้เวลาหลายชั่วโมงในโรงเรียน การแต่งงานแบบพ่อแม่ถือความเชื่อต่างกันมีจำนวนมากขึ้น จึงทำให้การเป็นพยานของครอบครัวคาทอลิกอ่อนแอ  แนวโน้มการหย่าร้างสูงขึ้นซึ่งทำให้เด็กอยู่กับพ่อหรือแม่ฝ่ายเดียว อิทธิพลของสื่อสารมวลชนเป็นสัญญาณเตือนภัย ที่ให้คุณค่าตรงกันข้ามกับคุณค่าของพระศาสนจักร  สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นบางองค์ประกอบที่เราต้องเผชิญจริงๆในทุกวันนี้

        ในอดีต เป็นจริงที่การสอนคำสอนส่วนมากเป็นหน้าที่ของวัดโดยตรง บรรดาผู้ปกครองดีใจปล่อยลูกให้พระสงฆ์ ซิสเตอร์ และบรรดาครูคำสอนทางการ  ผู้ปกครองไม่เคยมองตนเองว่ามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังความเชื่อแก่ลูก ความพยายามที่จะส่งเสริมการสอนคำสอนแบบบูรณาการต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้  หรือมิฉะนั้นจะสอนไม่บรรลุผล

        เราเห็นงานต่อหน้าเรานี้ว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน สภาพระสังฆราชและสังฆมณฑลต้องสนใจเรื่องนี้  มีความจำเป็นต้องพิจารณาจริงจังในประเด็นต่อไปนี้

        1. จำเป็นต้องพัฒนาการสอนคำสอนโดยมีวิสัยทัศน์ใหม่เกี่ยวกับครอบครัวในเอเชียดังสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชียได้ดำเนินการบ้างแล้ว

        2. การสอนคำสอนต้องมุ่งสร้างคุณค่าพระวรสาร คุณค่าที่ส่งเสริมโลกให้มีมนุษยธรรมมากขึ้น  พยายามเข้าใจและยอมรับคู่แต่งงานฝ่ายที่มิได้เป็นคาทอลิก

        3. จำเป็นต้องพัฒนารูปแบบการสอนคำสอนใหม่ โดยเน้นความต้องการพิเศษของประชาชนในประเทศต่าง ๆ ของเรา

        4. ทุกประเทศต้องหาวิธีการที่ปฏิบัติได้จริง  ต่อสภาพการแต่งงานที่ถือศาสนาต่างกัน (Inter-faith marriages) 

        5. เราต้องพัฒนาโครงการที่มุ่งช่วยเหลือครอบครัวผู้ปกครองเดียว  บรรดาผู้อพยพ  และผู้ติดเชื้อ  HIV

        6. จำเป็นต้องฝึกอบรมฝ่ายบริหารครูคำสอนให้เป็นมืออาชีพ

        7. ต้องพยายามให้ผู้ปกครองมีสำนึกว่าพวกเขาองเป็นผู้ประกาศข่าวดีคนแรก และเป็นผู้อบรมความเชื่อแก่ลูก ๆ  ครอบครัวเป็น  “พระศาสนจักรระดับบ้าน”  เป็นสถานที่สำคัญสำหรับปลูกฝังความเชื่อ

        8. สมาชิกทุกคนของเขตวัด และกลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐาน (BEC)  ต้องส่งเสริมบรรยากาศให้ความเชื่อเติบโตและเบ่งบาน

        ข้อแนะนำพิเศษบางประการ

        1. เรายืนยันว่าจุดมุ่งหมายแรกของการสอนคำสอนคือ  การสร้างศิษย์ของพระคริสต์มิใช่เพียงแค่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อ

        2. เครื่องมือแรกประการหนึ่งของการสอนคำสอน คือ  การเป็นพยานส่วนตัว  มิใช่แค่ผู้ปกครองเท่านั้น แต่สมาชิกทุกคนในพระศาสนจักร  ควรเน้นวิธีการเจริญชีวิตจริงๆ ตามคุณค่าพระวรสารในชีวิตของเรา

        3. การสอนคำสอนควรช่วยเหลือครอบครัวให้รู้จักใช้เครื่องมือสื่อสารมวลชน  ในฐานะเป็นพระศาสนจักร เราควรรู้จักประยุกต์การใช้สื่อเวลาสอนคำสอน อุปปกรณ์สื่อสารแบบเดิมเช่นหุ่น ละคร เพลง ฯลฯ  เรายังใช้ได้ในการสื่อสารความเชื่อ

        4. ในโครงการอบรมเตรียมแต่งงานผู้รับผิดชอบควรพิจารณาถึงปัญหาการแต่งงานที่คู่แต่งงานต่างวัฒนธรรม  และต่างความเชื่อสอนความสำคัญของการสื่อสารด้วยวาจา และท่าทาง  และการยอมรับข้อแตกต่างของปัจเจกชน

        5. ควรพัฒนาโปรแกรมให้ครูคำสอนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับปฏิบัติพันธกิจของพวกเขารวมทั้งมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับคำสอนของพระศาสนจักร ทักษะการสื่อสาร  และภูมิใจในบทบาทฐานะแบบอย่างชีวิตคริสตชน

        6. โครงการคำสอนควรพร่ำสอนให้เห็นคุณค่าสำหรับความหมายและความงดงามของเพศมนุษย์  ให้เคารพพระพรแห่งการสร้างของพระเป็นเจ้าและมีความสำนึกว่าระบบคุณค่าของโลกต่อต้านระบบคุณค่าของพระคริสต์อย่างไร

        7. การสอนคำสอนครอบครัวทีมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องฟื้นฟูชุมชนเขตวัด  และโครงสร้างของเขตวัด ต้องพัฒนาโครงการเน้นกระบวน  การรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน  (RCIA) เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมงานของเขตวัด  มิใช่เพียงแค่เด็กๆ ในงานคำสอนและการประกาศข่าวดี

        8. ผู้ปกครองจำเป็นต้องได้รับการแนะนำอย่างพิเศษ  ให้สามารถดำเนินชีวิตตามบทบาทของเขาอย่างมีประสิทธิภาพ  ในฐานะเป็นครูคำสอนคนแรกของลูก เพราะหลายคนไม่รู้สึกว่าสามารถทำสิ่งนี้ได้  พวกเขาควรได้รับความช่วยเหลือให้เห็นว่าบ้านสามารถจัดช่วงเวลาสอนคำสอนได้  และมีโอกาสใดที่สามารถแบ่งปันความเชื่อและอบรมความเชื่อในบ้าน

        9. ครอบครัวได้รับการสนับสนุนให้ร่วมงานบริการด้วยกันในเขตวัด ในสังคมบ้านเมือง และออกไปหาคนยากไร้ กิจการเหล่านี้เป็นการอุทิศตนตามความเชื่อ  และความสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าซึ่งใครก็สามารถร่วมงานได้

        10.  ในเขตวัดควรมีกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์เพื่อช่วยครอบครัวให้สามารถดำเนินชีวิต  ตามค่านิยมพระวรสารอย่างมีประสิทธิภาพ

        11.  กลุ่มคริสตชนของพระศาสนจักร  (BEC) เป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่ง  ในการสนับสนุนชีวิต  และการสอนคำสอนครอบครัวเป็นพิเศษในสถานที่ที่ขาดแคลนพระสงฆ์

        สรุป

        ในการทำข้อเสนอเหล่านี้ เราสำนึกว่าภารกิจนี้ยิ่งใหญ่ แต่เราขอมอบความหวัง  และความพยายามในพระหัตถ์ของพระนางมารีย์  พระมารดาของพระศาสนจักร และพระมารดาของเรา  ผู้ยังคงเป็นแบบอย่างของผู้ฟังพระวาจาและนำไปปฏิบัติ  (ลูกา 8:21) ขอพระแม่นำเราด้วยความเคารพ ความรับผิดชอบ  และให้บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถแบ่งปันความรักของพระเยซูกับบรรดาเด็ก  ในฐานะที่พวกเขาเปิดตนเองตอพระวาจาของพระเป็นเจ้าในชีวิต  และยอมให้พระวาจา  เปลี่ยนแปลงพวกเขา ครอบครัว และทุกคนที่พวกเขาจะมาพบปะด้วย

        พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์  แปล

         

Home

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ)  ถ.นนทรี  ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120