ประวัติความเป็นมา

      เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพครูของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ครูจะต้องจบปริญญาตรี และมีใบประกอบวิชาชีพครู ฉะนั้น การพัฒนาครูคำสอนพื่อสอนในระบบโรงเรียน ครูคำสอน หรือครูคาทอลิกที่สอนวิชาคริสต์ศาสนา จึงต้องได้รับการอบรมโดยตรง

      สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย มีแนว ความคิดในการพัฒนาบุคลากรครูฆราวาสและนักบวช เพื่อเปิดโอกาสให้ศึกษาในด้านศาสนา และเทววิทยามากยิ่งขึ้น

      คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรมประเทศไทย โดยมีพระสังฆราช พเยาว์ มณีทรัพย์ เป็นประธาน คุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นเลขาธิการฯ และคุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ รองเลขาธิการฯ และคณะกรรมการทั้ง 10 สังฆมณฑล กับวิทยาลัยแสงธรรม โดยคุณพ่อวิทยา คู่วิรัตน์ และอาจารย์ไพรัช สุภาษิต จึงร่วมมือกัน ดำเนินการเปิดหลักสูตรคริสตศาสนศึกษา โดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้ดำเนินการเปิดหลักสูตรนี้ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543โดยเป็นหลักสูตร 4 ปี ผู้ที่จบการศึกษาจะได้รับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต คณะศาสนศาสตร์ สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา (Bachelor of Arts: Christian Studies) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีมติให้รับรองมาตรฐานการศึกษาสาขาวิชานี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2545

      สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม ตั้งแต่แรกเริ่มนั้นมี คุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นหัวหน้าสาขาวิชาฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2552 คุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ เป็นรองหัวหน้าสาขาวิชาฯ ร่วมกับ คณาจารย์วิทยาลัยแสงธรรม ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมระดับชาติ (ศูนย์ซีซี) และ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม ดำเนินงานเรื่อยมาถึงปัจจุบัน และเนื่องจากคุณพ่อ วีระ อาภรณ์รัตน์ ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 เป็นพระสังฆราชประจำสังฆมณฑลเชียงใหม่ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552/ ค.ศ. 2009 จึงมีการแต่งตั้งบุคลากรใหม่ในปีการศึกษา 2552 คือ คุณพ่อเจริญ ว่องประชานุกูล หัวหน้าสาขาวิชาฯ คุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ รองหัวหน้าสาขาวิชาฯ อาจารย์ทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ ผู้ช่วยหัวหน้าสาขาวิชาฯ และ คุณครูสุดหทัย นิยมธรรม เจ้าหน้าที่ประจำสาขาวิชาฯ และมีพระสงฆ์ นักบวช คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย นักศึกษา ช่วยกันส่งเสริมให้สาขาวิชาฯนี้ เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป

ชื่อหลักสูตร

      หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา

      Bachelor of Arts Program in Christian Studies

ชื่อปริญญา

      ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต ( คริสตศาสนศึกษา ) Bachelor of Arts (Christian Studies)

      ชื่อย่อ : ศศ.บ. ( คริสตศาสนศึกษา ) B.A. (Christian Studies)

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

       3.1 ปรัชญา

          การศึกษาคริสตศาสนศึกษา คือ ระบบการศึกษาเพื่อพัฒนา
คริสตชนให้เป็นศาสน-บริกร ด้านการสอนคริสตศาสนธรรม

      3.2 วัตถุประสงค์

          1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างชีวิต
คริสตชน และเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณและปัญญา

          2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความรอบรู้ คำสอนของ
คริสต์ศาสนจักรคาทอลิก มีความสามารถในการสอน

          และมีประสิทธิภาพในการพัฒนารูปแบบการสอนคริสตศาสน
ธรรม

          3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำคำสอนของคริสต์ศาสนจักร
คาทอลิกมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชีวิตและสังคมทั้งต่อ
ตนเองและผู้อื่น

          4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีจิตสำนึกที่จะทำนุบำรุง สืบทอด ศาสนา อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม อย่างเหมาะสมตามบริบทของสังคมไทย

โครงสร้างหลักสูตร

      1. จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต

      2. ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี

      3. องค์ประกอบหลักสูตร

          3.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

          3.2 หมวดวิชาเฉพาะสาขา 96 หน่วยกิต

          3.3 หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

          3.4 หมวดวิชาภาคปฏิบัติ 3 รายวิชา

แผนการศึกษา (รายละเอียด )

ดำเนินการโดย

สารศิษย์เก่าครูคำสอนสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา
ฉบับปฐมฤกษ์ 16 มกราคม 2555

โบชัวร์  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
คณะศาสนศาสตร์ สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา

ใบสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี  คณะศาสนศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา
ปีการศึกษา 2555

สถิตินักศึกษาปีการศึกษา 2554

สถิตินักศึกษาศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบัน

หลักฐานการสมัคร
1. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 5 รูป
2. สำเนาวุฒิการศึกษาสายสามัญ
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
5. สำเนาการเปลี่ยนชื่อ/นามสุกล (ถ้ามี)
6. ใบรับรองคุณสมบัติของนักศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1 สำหรับสามเณรหรือนักบวชนิกายโรมันคาทอลิก

          1.1 สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

          1.2 ผ่านการอบรมจากสถานฝึกอบรมของคณะที่สังกัดอยู่

          1.3 มีหนังสือมอบตัวจากต้นสังกัด

          1.4 มีหลักฐานการสมัครครบถ้วน
2 สำหรับบุคคลทั่วไป

          2.1 สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

          2.1 มีผู้รับรองความประพฤติ

          2.3 ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจหรือขัดต่อการศึกษา หรือ
เป็นไปตามประกาศของวิทยาลัยแสงธรรมเป็นคราวๆ ไป

อัตราค่าเล่าเรียน

      1. หน่วยกิตละ 1,000 บาท

      2. ค่าบำรุงการศึกษาต่างๆ ภาคละ 1,800 บาท

      3. ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาแรกเข้า 300 บาท

      4. ค่ากิจกรรมนักศึกษาภาคละ 1,000 บาท

      หอพัก นักศึกษาสามารถติดต่อพักได้ที่ศูนย์อบรม
คริสตศาสนธรรม เพื่อฝึกชีวิตภาวนาและชีวิตหมู่คณะ

      1. ห้องพักรวม คนละ 850 บาท/เดือน

      2. ค่าอาหาร คนละ 3,550 บาท/เดือน

           รวม 4,440 บาท/เดือน

           รวมภาคเรียนละ 19,800 บาท

สถานที่ติดต่อ

      วิทยาลัยแสงธรรม
    
20 หมู่ 6 ถ. เพชรเกษม ต. ท่าข้าม อ. สามพราน จ. นครปฐม 
     73110 โทรศัพท์ 0-2429-0100-3 โทรสาร 0-2429-0819
     E-mail :
college@saengtham.ac.th
     http://
www.saengtham.ac.th

      ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรม
    
82 หมู่ 6 ซ. วัดเทียนดัด อ. สามพราน จ. นครปฐม 73110
     โทรศัพท์ โทรศัพท์  0-2429-0443 , 0-2812-5880,
     08-2335-2112  โทรสาร 0-2-429-0239
     E-mail: nccthai@hotmail.com

1

บาทหลวง ดร.ชาติชาย

พงษ์ศิริ

อธิการบดี

2

บาทหลวงดร.อภิสิทธิ์

กฤษเจริญ

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

3

บาทหลวงวิรัช

นารินรักษ์

คณบดีคณะศาสนศาสตร์

4

บาทหลวงเจริญ

ว่องประชานุกูล

หัวหน้าสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา

5

บาทหลวงผศ.วัชศิลป์

กฤษเจริญ

รองหัวหน้าสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา

6

อาจารย์ทัศนีย์

มธุรสสุวรรณ

ผู้ช่วยหัวหน้าสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา

7

มุขนายกวีระ

อาภรณ์รัตน์

ที่ปรึกษาสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา

8

ซิสเตอร์สุวรรณี

พันธ์วิไล

ผอ.ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมระดับชาติ

9

บาทหลวงสมชัย

พิทยาพงศ์พร

 

10.

บาทหลวงสมเกียรติ

ตรีนิกร

 

11.

บาทหลวง ดร.ฟรังซิส

ไก้ส

 

12

บาทหลวงธีรพล

กอบวิทยากุล

 

13

บาทหลวงสำรวย

กิจสำเร็จ

 

14

บาทหลวงสุรชาติ

แก้วเสนีย์

 

15

บาทหลวงธรรมรัตน์

เรือนงาม

 

16

บาทหลวงสมชาย

อัญชลีพรสันต์

 

17

บาทหลวงดร.สุรชัย

ชุ่มศรีพันธุ์

 

18

บาทหลวงวสันต์

พิรุฬห์วงศ์

 

19

บาทหลวงเอกรัตน์

หอมประทุม

 

20

บาทหลวงบุญเลิศ

สร้างกุศลในพสุธา

 

21

บาทหลวงทัศนุ

หัตถการกุล

 

22

ซิสเตอร์ดร.ชวาลา

เวชยันต์

 

23

อาจารย์ทวีศักดิ์

เดชาเลิศ

 

24.

อาจารย์ทิพยา

แสงไชย

 

25.

อาจารย์ลัดดาวัลย์

วงศ์ภักดี

 

26.

อาจารย์ลัดดาวรรณ์

ประสูตร์แสงจันทร์

 

27

ผศ.ลิิขิต

กาญจนภรณ์

 

28

อาจารย์มยุรี

แสงไพโรจน์

 

29.

อาจารย์ปิยะวรรณ

กลีบศรี

 

30.

อาจารย์วันวิสาข์

ชื่นอารมณ์

 

31.

อาจารย์สุจิตตรา

 จันทร์ลอย

 

32.

อาจารย์สุดหทัย

นิยมธรรม