คนเราย่อมมีข้อขัดแย้งในชีวิตเป็นธรรมดา แต่การแก้ไขมีทั้งการหนีปัญหา ชนปัญหา  หรือวิธีสร้างสันติกับทั้งสองฝ่าย  การสร้างสันติเป็นวิธีถวายเกียรติแด่พระเจ้า และพระองค์สอนเราให้เลือกมองข้ามข้อขัดแย้งบ้าง  เหมือนที่พระเจ้าแสดงเมตตาธรรมและอดทนเรา  พระองค์มิได้จัดการกับเราเมื่ อเราทำบาป  พระองค์ใจดีมีเมตตาและสอนเราให้มีเมตตาต่อผู้อื่นเช่นกัน

“ถ้าคุณเป็นผู้สร้างสันติภาพปลอม คือ แกล้งว่าทุกสิ่งโอเค  เมื่อมันไม่โอเ ค  โปรดจำไว้ว่า การมองข้ามมิได้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่หลีกเลี่ยงข้อขัดแย้ง และถ้าคุณเป็นผู้ทำลายสันติภาพ คือ บังคับผู้อื่นตามวิธีของคุณ แม้คุณทำร้ายเขามาก โปรดรู้ไว้ว่า การมองข้ามมิใช่เป็นการไม่ยอมรับผิดชอบ

การมองข้าม (Overlooking) เป็นการเลือกแบบหนึ่ง (ที่ดี) การมองข้ามมิใช่การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าหรือการอยู่เงียบๆ ตอนนั้น  แต่พยายามเก็บการทำผิด  โดยใช้ต่อต้านบางคนภายหลัง นั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของกา รปฏิเสธ  ซึ่งปกติทำให้เกิดความขมขื่นที่ในที่สุดจะระเบิดความโกรธได้ เมื่อคุณมองข้ามความผิดของผู้อื่น คุณตัดสินใจไม่กังวลการทำให้ขุ่นเคือง  คุณหยุดการคิดซ้ำสถานการณ์ คุณหยุดพูดถึงมัน คุณเลือกปล่อยวาง การมองข้ามจึงหมายความว่าคุณเลือกให้อภัยบุคคลหนึ่ง  โดยไม่ถกเถียงหรือทำอะไรต่อไปอีก

การมองข้ามเป็นการเลือกที่เข้มแข็ง มิใช่เป็นการทำลายสันติภาพ  แต่เ ป็นการรับพลังจากพระวรสาร บางคนแย้งว่า “มันไม่ถูกจะยอมคนนั้นง่ายๆ”  ผมอยากโต้ว่า “แล้วคุณจะได้นิรันดรภาพที่ไหน  ถ้าพระเจ้าถือความยุติธรรมกับเราโดยไม่มีเมตตาธรรม”  คำตอบชัดเจน เราคงถูกสาปให้ไปน รก แต่โชคดีที่พระเจ้าไม่ปฏิบัติกับเราตามบาปที่เราสมควรได้รับ  สำหรับผู้วางใจในพระคริสตเจ้า ว่าพระองค์เปี่ยมด้วยความอ่อนหวานและเมตตาสงสาร พระองค์หวังให้เราปฏิบัติกับผู้อื่นวิธีเดียวกัน ดังที่พระเยซูเจ้า ทรงสอนว่า “จงเป็นผู้เมตตากรุณา ดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36)

การมองข้ามเป็นการเลือกที่น่าปฏิบัติ  คือ ไม่คอยตำหนิผู้อื่นโดยคิด ว่าตนกำลังทำถูก  เพื่อสร้างสันติ   การตำหนิตักเตือนผู้อื่นบ่อยๆ มักเป็นสาเหตุความเสียหาย ขณะที่การมองข้ามช่วยรักษามิตรภาพ แทนท ี่จะเรียกผู้อื่นให้ชี้แจงความผิดบกพร่องทุกข้อ  เราสามารถมองข้ามข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ การทำเช่นนี้จะสร้างบรรยากาศแห่งพระหรรษทาน  เราจะไม่ทำให้ใครเจ็บ  และมีชีวิตต่อไปได้

ลองคิดดูนะครับว่า  เมื่อคุณได้มองข้ามความรู้สึกขุ่นเคืองแล้วมีผลดีไหม”

พระสังฆราช วีระ   อาภรณ์รัตน์
แปลจาก Resolving  Everyday Conflict   หน้า 61-63.
โดย  Ken Sande  และ Kevin  Johnson