สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ประกาศคำขวัญวันสันติภาพสากล (1 มกราคม 2017) เน้นวิธีการไม่ใช้ความรุนแรงเป็นการแก้ไขปัญหาการเมือง  ที่พระองค์ได้ใช้คำบ่อยๆว่าเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในโลก อาจนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3

สมณสภาเพื่อความยุติธรรม  และสันติ  ได้ประกาศคำขวัญนี้ เมื่อวันที่  26  สิงหาคม 2016  ว่า “ความรุนแรง  และสันติภาพเป็นสองวิธีตรงข้ามกันเพื่อสร้างสังคม”

การเพิ่มทวีความรุนแรง ทำให้เกิด  ผลต่างๆตามมาด้านสังคมในทางลบรุนแรงมากที่สุด....ตรงกันข้ามสันติภาพ ส่งเสริมผลต่างๆด้านบวกทางสังคม และย่อมเกิดความสำเร็จก้าวหน้าแท้จริง”

ดังนั้น  “เราควรปฏิบัติ  (ภายใน) สิ่งที่เป็นไปได้  และหาทางเจรจาใช้วิถีทางแห่งสันติภาพ แม้บางที่ดูเหมือนอ้อมค้อมและปฏิบัติไม่ได้”

ทำดังนี้แล้ว วิธีการไม่ใช้ความรุนแรงสามารถทำให้เกิด “ความหมายใหม่ และความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น” มิใช่แต่พียงความปรารถนา  หรือการปฏิเสธความรุนแรง ข้อขัดขวาง  และแรงกระตุ้นด้านทำลายเท่านั้น แต่ วิธีการเมืองจริงๆ  ก็ทำให้เกิดความหวัง”

วิธีการไม่ใช้ความรุนแรง สไตล์การเมืองเพื่อสันติภาพ เป็นคำขวัญ วันสันติภาพสากล  ปีที่ 50  และเป็นปีที่  4 ในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส

บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่  6 ได้ตั้งวันสันติภาพสากล ใน ค.ศ. 1968 โดยฉลองทุกปีในวันที่ 1  มกราคม  สมเด็จพระสันตะปาปาทรงให้คำขวัญพิเศษในโอกาสนี้ โดยส่งสาส์นไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศทั่วโลก  และถือเป็นแนวทางของสมณทูตในปีใหม่

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเน้นหัวข้อที่อยู่ในใจของพระองค์ เช่น ภราดรภาพ ยุติการเป็นทาส การค้ามนุษย์บังคับให้ทำงาน การเอาชนะการนิ่งดูดาย ทั้งในระดับส่วนตัว และการเมือง

สาส์น ของพระองค์มีข้อแนะนำด้านอภิบาลและการเมืองสำหรับทั้งผู้นำของพระศาสนจักร และบรรดาผู้นำนานาชาติ  รวมทั้งการพลักดันให้เลิกโทษประหารชีวิต  และการอภัยโทษสำหรับนักโทษผู้ถูกตัดสินว่ากระทำผิดทางการเมือง

คำนำในสาส์นปีนี้เน้นว่าวิธีการไม่ใช้ความรุนแรง เป็นกลยุทธ์ทางการเมือง ที่เน้นกฎหมายเป็นหลัก

หากสิทธิ และศักดิ์ศรีของแต่ละปัจเจกชนเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกที่รักมักที่ชัง  วิธีการไม่ใช้ความรุนแรงก็สามารถเอาชนะข้อขัดแย้งด้านอาวุธ การเจรจาต่อรอง ก็จะสามารถลดข้อขัดแย้ง ถ้ามีความคิดแบบนี้ในใจ ก็จะมีการเคารพอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของประชาชน ที่แตกต่างกัน จะไม่มีความคิด “ อยู่เหนือกว่า” ผู้อื่นอีกต่อไป

วิธีการไม่ใช้ความรุนแรง  มิใช่เหมือนกับการนิ่งดูดายต่อโศกนาฏกรรม แต่พยายามประยุกต์ศิลปะทางการทูตมากกว่าการใช้อาวุธ  “การค้าอาวุธยังแพร่หลายมาก การสนับสนุนกำลังอาวุธที่ผิดกฎหมายส่งเสริมข้อขัดแย้งของโลก  แต่การไม่ใช้ความรุนแรงให้เป็นสไตล์การเมือง  สามารถ และต้องทำให้มากเพื่อหยุดยั้งสิ่งที่นำหายนะนี้”

จาก CAN / EWTN News 26 สิงหาคม 2016
ข่าวโดย Elise  Harris
พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์  แปล
12 ธันวาคม 2016