พระศาสนจักรคาทอลิกได้จัดสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 15 ที่กรุงโรม หัวข้อ “เยาวชน ความเชื่อ และการไตร่ตรองกระแสเรียก” ระหว่างวันที่ 3-28 ตุลาคม ค.ศ. 2018  พ่อได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจากสภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย ไปร่วมสมัชชาครั้งนี้  ในโอกาส “วันครูคำสอนไทย”(16 ธันวาคม) จึงขอแบ่งปันเล็กน้อยแก่พี่น้องผู้สนใจ

ตุลาคม ค.ศ. 2015 เป็นสมัชชาพระสังฆราช  เรื่องครอบครัว และสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ออกสมณลิขิต “ความปีติยินดีแห่งความรัก” เกี่ยวกับความรักในครอบครัว  (19 มีนาคม ค.ศ. 2016)   ตอนนี้สมเด็จพระสันตะปาปากำลังพิจารณาเอกสารสุดท้าย ที่บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมสมัชชาได้เสนอ(28ตุลาคม 2018) ให้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงพิจารณาทำสมณลิขิต  แต่พ่อขอนำบางเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเสนอในโอกาสนี้

ภาคแรก ร่วมเดินทางด้วย (ลก 24:15 )ฟังความต้องการของเยาวชนปัจจุบัน (ข้อ 6 -57) ฟังด้วยความรัก  ความเห็นใจ  ในเขตวัด  ในด้านการศึกษา  ในสภาพสังคมที่

-มีการใช้เครื่องมือสื่อสารดิจิตัล  มีทั้งผลดี และผลเสีย มีข่าวไม่จริง (fake news)  ที่ต้องคิดก่อนแชร์ ฯลฯ
-มีผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย  ที่มีสาเหตุจากสงคราม  การเบียดเบียนศาสนา  ความยากจน การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด ครอบครัวแตกแยก
-เรื่องการทำผิดต่อเด็กและเยาวชน  ที่เราต้องช่วยกันปกป้อง เยียวยารักษา ลงโทษ  ช่วยเหลือ และภาวนาให้

ภาคที่ 2 “เขาก็ตาสว่าง และจำพระองค์ได้ (ลก 24 : 31)  เปิดตา ไตร่ตรอง (ข้อ 58-113)
เราควรมองบรรดาเยาวชนด้วยทัศนะคติของพระเยซูเจ้า ทุกวันนี้ พระเจ้าตรัสกับพระศาสนจักรและโลก  โดยผ่านทางเยาวชน  ความริเริ่มและความทุกข์ ที่ร้องขอความช่วยเหลือ  เพื่อเขาจะได้เลือกการศึกษา  อาชีพ และกระแสเรียก ช่วยประกาศข่าวดี ในครอบครัว ในชุมชนต่อไป

ชีวิตผู้รับเจิม (ข้อ 88)
“พระพรแห่งชีวิตผู้รับเจิม  ในรูปแบบ ชีวิตรำพึงภาวนา(ในอาราม) หรือ ทำงานแบบแข็งขัน ซึ่งพระจิตเจ้าบันดาลให้พระศาสนจักรมีคุณค่าพิเศษด้านประกาศก เป็นประจักษ์พยานชีวิตชื่นชมยินดี ด้วยความกตัญญูแห่งความรัก  เมื่อหมู่คณะนักบวชเจริญชีวิตมีความรักกันฉันพี่น้องแท้จริง  ก็เป็นโรงเรียนแห่งความสนิทสัมพันธ์  ศูนย์อบรมการภาวนา การรำพึง สถานที่แห่งพยานชีวิต แห่งการเสวนาระหว่างวัย และระหว่างวัฒนธรรม เป็นสถานที่แห่งการประกาศข่าวดี และการกุศล(Charity) พันธกิจของบรรดานักบวชหญิงชาย ที่สนใจคนสุดท้ายชายขอบในสังคม  แสดงให้เห็นการอุทิศตนแบบชัดเจนเป็นรูปธรรม ของพระศาสนจักร บางแห่งสมาชิกมีจำนวนลดน้อยลง มีผู้สูงอายุ ชีวิตผู้ถวายตัวยังคงสืบต่อไป  บังเกิดผล และมีความริเริ่ม โดยอาศัยการร่วมรับผิดชอบของฆราวาสมากมายที่ได้รับจิตตารมณ์  และพันธกิจแห่งพระพรพิเศษที่แตกต่างกัน พระศาสนจักรและโลก  ยังมีพระพรแห่งกระแสเรียก  ก่อให้เกิดทรัพยากรยิ่งใหญ่พระศาสนจักรในยุคของเรา”

ภาคที่ 3 “เขาทั้งสองคนจึงรีบออกเดินทาง” (ลก 24:33)
การเลือกวิถีดำเนินชีวิต  การเลือกวีถีดำเนินชีวิต (ข้อ 114 -167)
ในสมัชชา มีคำว่า การเป็นเพื่อนฝ่ายจิต หรือ การก้าวเดินไปด้วยกัน (accompaniment) กับเยาวชน  เหมือนในพระวรสารเรื่องศิษย์ที่เอมมาอุส (ลก 24:32-35) เราสามารถก้าวเดินไปด้วยกัน

1.เขตวัด ในงานอภิบาล ร่วมกับพระสงฆ์ นักบวช สภาภิบาล ครูคำสอน (ข้อ 131-132)
-ในการสอนคำสอนแก่เยาวชน  แก่ผู้สนใจเรียนคำสอนเป็นคริสตชน โดยใช้หนังสือคำสอน
เยาวชน (YOUCAT)  และคำสอนด้านสังคม (DOCAT) (ข้อ 133)
-พิธีกรรม ปรับปรุงบทเทศน์ การมีส่วนร่วมของเยาวชนในพิธีมิสซา  การใช้ดนตรี ศิลปะ การ
ภาวนาเตเซ่ ฯลฯ การช่วยให้พิธีกรรมมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น (ข้อ 134)
-ความศรัทธาประชาชนของท้องถิ่น  ความศรัทธาต่อแม่พระ นักบุญ การจารึกแสวงบุญ
สำหรับเยาวชน
-การบริการช่วยเหลือ คนจน ศาสนสัมพันธ์ คริสตศาสนสัมพันธ์  (ข้อ 137)

2.การอภิบาลเยาวชนด้านกระแสเรียก (ข้อ 138)
-ศูนย์เยาวชน เพื่อให้เยาวชนมีสถานที่พบปะ การส่งเสริมเรื่องศิลปะ ดนตรี  กีฬา ฯลฯ ที่เยาวชนสนใจ
-สื่อศึกษาฯ มีการอบรม เพื่อการใช้สื่อสารสมัยใหม่ (ข้อ 145-146)
-ร่วมมือกับนักบวชหญิง เรื่อง ป้องกันการค้ามนุษย์ (ทาลิตากุม) (ข้อ 147)

3.ด้านธรรมทูต 
-สนใจผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย  ซึ่งส่วนมากเป็นเด็ก เยาวชน  ช่วยเหลือ ด้วยการต้อนรับ(Welcoming)  ปกป้อง(Protecting) ส่งเสริม (Promoting)และไม่เลือกปฏิบัติ(Integrating) ตามข้อเสนอของสมเด็จพระสันตะปาปา วันสันติภาพสากล (1 ม.ค. 2018) (ข้อ 147)
-ช่วยสอนเยาวชน เรื่อง ความบริสุทธิ์  การรักนวลสงวนตัว  (ข้อ 149)
-ด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  ต่อต้านคอร์รัปชั่น  การค้ายาเสพติด (ข้อ 151)
-ส่งเสริมความยุติธรรม (ข้อ 153)
-การเคารพรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม  ตามข้อแนะนำในสมณลิขิต Laudato Si (154)
-ในด้าน วัฒนธรรมสัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์ (ข้อ 155)
-เยาวชน  เพื่อคริสตศาสนสัมพันธ์ (ข้อ 156)
-การศึกษา  โรงเรียน  และมหาวิทยาลัย (ข้อ 158 ) มีครูที่มีคุณภาพ  มีจิตตาภิบาล

4.การเตรียมผู้อบรมใหม่ ให้เป็น”ศิษย์ธรรมทูต” ให้สามารถมีทักษะ เป็นเพื่อนฝ่ายจิต  การอบรมสามเณร และ ผู้ถวายตัว   การเตรียมแต่งงาน (ข้อ 159 - 163)

 เราทุกคนมีกระแสเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าพระบิดา  โดยอาศัยพระจิตเจ้า นำพาเราไปหาพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นองค์ความรักของเรา 

   พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ)  ถ.นนทรี  ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120