นักบุญ (สมเด็จพระสันตะปาปา)  ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้ออกสมณลิขิต ชื่อ  พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (ภาษาละตินว่า Dives in Misericordia ภาษาอังกฤษ Rich in Mercy)  เมื่อ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980  พระสังฆราช ยอด  พิมพิสาร  ได้แปล  และให้แผนกคำสอนกรุงเทพฯ จัดพิมพ์  มกราคม 1999 – 19 ปี

เนื้อหาแบ่งออกเป็น 8 บท  ดังต่อไปนี้

บทที่ 1 ผู้ที่เห็นเรา  ก็เห็นพระบิดาด้วย
การเผยแสดงแห่งพระเมตตา “พระเป็นเจ้า” นั่นเอง  คือ “พระผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา”  พร ะเยซูคริสตเจ้าทรงเผยแก่เราว่า  พระองค์ทรงเป็นพระบิดา พระบุตรทรงแสดงพระองค์  และทรงเผยให้เราได้รู้จักพระองค์    ในเรื่องนี้   สิ่งที่น่าประทับใจคือ   เมื่อฟิลิปหนึ่งในอัครสาวกสิบสององค์  หันไปหาพระคริสตเจ้า  แล้วทูลพระองค์ว่า “พระอาจารย์ครับ  ช่วยชี้พระบิดาให้พวกเราดูเท่านั้นก็พอแล้ว” และพระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “เราอยู่กับพวกท่านมานานแล้ว  เจ้ายังไม่รู้จักเรา หรือ...  ผู้ที่เห็นเราก็เห็นพระบิดาด้วย” (ยน 14:8-9) พระวาจานี้  พระองค์ได้ตรัสในระหว่างการเทศน์กล่าวอำลา เมื่อจบการกินเลี้ยงปัสกา ซึ่งติดตามมาด้วยเหตุการณ์แห่งสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่ งเป็นการยืนยันครั้งเดียวและตลอดไป  ถึงความจริงที่ว่า “พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา  ได้ทรงสำแดงความรักอันยิ่งใหญ่ต่อเรา เมื่อเราตายไปแล้ว  เพราะการล่วงละเมิด  พระองค์ ก็ทรงบันดาลให้เรากลับมีชีวิตกับพระคริสตเจ้า” (อฟ 2:4-5)

บทที่ 2 สาส์นแห่งพระเมสสิยาห์
เมื่อพระคริสตเจ้าทรงเริ่มพระพันธกิจและการสั่งสอน “พระจิตของพระเจ้าทรงสถิตเหนือข้าพเ จ้า  เพราะพระองค์ทรงเจิมตัวข้าพเจ้า  เพื่อไปประกาศพระวรสารแก่คนอนาถา พระองค์ใช้ข้าพเจ้ามาแจ้งข่าวดีแก่คนยากจน ประกาศอิสรภา พแก่บรรดาเชลย  คนตาบอดให้กลับมองเห็นได้อีก ให้ผู้ถูกกดขี่ได้รับอิสรภาพ  และประกาศปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า” (ลก 4:18-19)
นิทานเปรียบเทียบเรื่องลูกล้างผลาญ (ลก 15:11-32)  ชาวสะมาเรียผู้ใจอารี (ลก 10:29-37)   นายชุมพาบาลที่ดีตามหาแกะที่สูญหาย (ลก 15:4-7)  สตรีกวาดบ้านค้นหาเงินเหรียญที่หล่นหาย (ลก 15:8-10)  พระวรสารนักบุญลูกาได้ชื่อว่า  พระวรสารแห่งพระเมตตา

บทที่ 3 พันธสัญญาเดิม
“พระเป็นเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระเมตตา  และพระทัยเผื่อแผ่ ทรงกริ้วช้า  ทรงเปี่ยมด้วยความรักมั่นคงและทรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์” (อพย 34:6)

บทที่ 4 นิทานเปรียบเทียบเรื่องลูกล้างผลาญ (ลก 15:20)
แม้คำว่า “เมตตา” จะมิได้ปรากฏให้เห็น แต่ก็เป็นการสำแดงออกซึ่งแก่นแท้แห่งพระเมตตาของพระเป็นเจ้าได้อย่างชัดเจน  ทั้งนี้มิใช่เพราะคำเ หมือนกับคำในพันธสัญญาเดิม  แต่เป็นการเปรียบเทียบ ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ถึงธรรมล้ำลึกแห่งพระเมตตา ในขณะที่ละครอันเปี่ ยมด้วยความหมายอันลึกซึ้ง ได้เผยถึงความรักระหว่างพ่อกับลูกผู้ล้างผลาญและบาปของลูก... ทำให้ลูกกลับใจอย่างแท้จริง

บทที่ 5 ธรรมล้ำลึกปัสกา
พระเมตตาที่เผยแสดงบนกางเขน และการกลับคืนพระชนม์   ความรักทรงอานุภาพมากว่าความตาย  และทรงอานุภาพมากกว่าบาป พระมารดาแห่งความเมตตา

บทที่ 6 พระเมตตา... ทุกยุคสมัย
โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยความเลวทรามทั้งด้านกายและศีลธรรม  จนทำให้โลกของเราเป็นโลกที่เปี่ยมด้วยความขัดแย้ง แตกต่าง  และความตรึ งเครียด  ความยุติธรรมเท่านั้นจะเพียงพอหรือ

บทที่ 7 พระเมตตาของพระเป็นเจ้า ในพันธกิจของพระศาสนจักร
พระวาจา  พิธีมิสซา ศีลอภัยบาป ศาสนสัมพันธ์ (13)
-โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น (มธ 6:12 ; ลก 11:3-7)
-ให้อภัยเจ็ดครั้งเจ็ดสิบหน (มธ 18:22)
-ปกป้องคุณค่าแห่งการให้อภัยตามแบบพระเยซูเจ้า

บทที่ 8 บทอธิษฐานภาวนาของพระศาสนจักรในยุคสมัยของเรา
อาศัยคำเสนอวิงวอนของพระนาง ผู้ไม่เคยหยุดหย่อนในการประกาศ “พระเมตตา... ทุกยุคทุกสมัย”  และอาศัยคำเสนอวิงวอนของผู้ปฏิบัติตา มคำเทศน์บนเนินเขาที่ว่า “ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา” (มธ 5:7)

หมายเหตุ :เมตตา แปลว่า ความรักและเอ็นดู ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้สุข

Home

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ)  ถ.นนทรี  ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120