คู่มือแนะแนวการสอนคำ สอน (ฉบับใหม่) ข้อที่ 370-372

370  “วิถีใหม่ในงานอภิบาลการสอนคำ สอนยุคดิจิทัล”

+ พระศาสนจักรเชิญชวนให้ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูคำ สอน ผู้อภิบาล ร่วมสื่อ สะท้อน แบ่งปัน ทักษะความเชี่ยวชาญ และร่วมแสวงหาวิถีและวิธีใหม่ในครรลองแห่ง ความเชื่อของเยาวชนพลเมืองดิจิทัล วิถีใหม่ที่นำ การประกาศพระวรสารร่วมสมัยด้วย ภาษาและวิธีการที่เข้ากับและเป็นวิถีของคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นชุมชน การรวมตัวกัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ที่ไม่ทิ้งใครให้โดดเดี่ยวหรือแปลกแยกในโลก ออนไลน์และออฟไลน์
+ ในยุคดิจิทัล รูปแบบวิถีใหม่ของภาระงาน การวางแผน การออกแบบการสอน คำ สอนควรปรับเปลี่ยน และปฏิรูปให้ความใส่ใจเอาใจใส่ในการสื่อสารความเชื่อ ตาม อัตลักษณ์ และละเอียดลึกซึ้งต่อความต้องการของแต่ละบุคคล
+ ความท้าทายของงานอภิบาลการสอนคำ สอน คือ การเชิญชวนให้เยาวชนยุคดิจิทัล ที่แสวงหาอิสระเสรี ได้ร่วมรับสัมผัส ค้นพบประสบการณ์อิสรภาพ และเสรีภาพที่แท้ จริงภายในที่พระเป็นเจ้าตรัสเรียกและดูแล
+ รูปแบบและวิธีการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกใช้ “คำ และภาษา” เพื่อใช้ สื่อสารกับคนรุ่นใหม่ คำ ถามสำ คัญต่อครูคำ สอนได้แก่ จะมีวิธีการเช่นไร สำ หรับการ เลือกใช้คำ เพื่อสื่อสาร: “ภาษาออนไลน์” และ การปรับประยุกต์ “ภาษา ศาสนา” (ทาง ตรงแบบดั้งเดิม) ได้อย่างเหมาะสม ไม่ผิดเพี้ยน นั่นคือศาสตร์และศิลป์ (กรณีศึกษา “Jesus - Disciples” vs “Influencer - Virtual Followers”)
+ พันธกิจสำ คัญ ของการอภิบาลคำ สอนยุคดิจิทัล คือ การแนะนำ หนทางใหม่และ การแสวงหาเป้าหมายของชีวิตที่แท้จริงสำ หรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ นำ การเปลี่ยนผันเส้น ทางและการแสวงหาอันแสนโดดเดี่ยวอ้างว้างที่ต้องอาศัย “Likes” บน โลกออนไลน์ สู่แรงขับเคลื่อนแท้จริงที่อยู่ภายในของแต่ละบุคคล สร้างชุมชนและสังคมที่มีส่วมร่วม อย่างแท้จริง

371 “หัวใจหลักของการสอนคำ สอนยุคใหม่”
+ ในการประกาศพระวาจาในยุคดิจิทัล คำ ถามหรือประเด็นสำ คัญไม่ได้อยู่ที่ “วิธีการ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแพร่ธรรม” แต่อยู่ที่การพัฒนาสู่ “วิถีร่วมสมัยในการแพร่ธรรมและ การประกาศพระวรสารในระบบนิเวศดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ”
+ หัวใจหลักของการสอนคำ สอนยุคใหม่ : “งานอภิบาลการสอนคำ สอนมิใช่เพียง การปรับเปลี่ยนตามกระแสความเป็นดิจิทัล แต่ต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงพลังและ อิทธิพลของสื่อดิจิทัล สามารถใช้สมรรถนะของนวัตกรรมดิจิทัลในด้านบวก อย่างเต็มที่ และที่สำ คัญต้องตระหนักว่า การสอนคำ สอนมิอาจดำ เนินไปด้วยเพียงแค่การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือดิจิทัลประกอบการสอนเพียงเท่านั้น แต่ต้องใช้เป็นเครื่องมือนำ ไปสู่การเปิด พื้นที่และประสบการณ์แห่งความเชื่อ” หากผู้อภิบาลตระหนักได้ดังนี้จะเป็นเครื่องยึด เหนี่ยวไม่ให้หลงทาง หลีกเลี่ยงการสอนคำ สอนในโลกความจริงเสมือนอย่างไร้แก่นและ ด้อยประสิทธิภาพ
+ การสอนคำ สอนในยุคดิจิทัล ครูคำ สอนต้องมีความสามารถ และวิธีการที่มี ประสิทธิภาพในการตอบ/ชี้แจงประเด็นร่วมสมัย ที่สำ คัญได้แก่ ความหมายที่แท้จริงของ ชีวิต อัตลักษณ์ความเป็นตัวตน ความรู้สึกนึกคิดและเจตคติ เพศสภาวะ ความยุติธรรม และสันติ ที่มักจะได้รับการปฏิบัติและมาตรฐานที่แตกต่างกันไปในสังคม ซึ่งเยาวชนคน รุ่นใหม่แสวงหาคำ ตอบกันอยู่

372 “สื่อสารความเชื่อ เพื่อชุมชนสัมพันธ์ในพระคริสต์”
+ การสอนคำ สอนในยุคดิจิทัลมีแนวโน้มตอบสนองความต้องการที่ละเอียดอ่อน และ มีรายละเอียดในแต่ละบุคคล (Personalised) แต่มิใช่เป็นกระบวนการของปัจเจกชนเพื่อ หรือเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น กระบวนการต้องขับเคลื่อนจากโลกแห่งความปลีกตัว โดดเดี่ยว (จากบางด้านมุมของสื่อสังคมออนไลน์) สู่ชุมชนรวมเป็นหนึ่งที่พระเป็นเจ้า รังสรรค์เพื่อการแบ่งปันประสบการณ์ชีวิต
+ ควรสนับสนุนให้ครูคำ สอนและผู้อภิบาลเยาวชน มีความสามารถในนวัตกรรมการ สอนคำ สอนทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อการประยุกต์ธรรมล้ำ ลึกเชิงสัญญะ การถอดความ ตีความ ปรากฏการณ์ทางสังคมสมัยใหม่ พัฒนาทักษะการใช้ในภาษา เพื่อการสื่อสาร ความเชื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการประกาศพระวรสาร การแพร่ธรรม อาทิ อธิบาย พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ โดยการปรับให้เข้ากับยุคสมัยและวัฒนธรรมใหม่ “วัฒนธรรมดิจิทัล”
+ งานแพร่ธรรมในระบบนิเวศใหม่ของโลกดิจิทัล เพื่อรื้อฟื้น สถาปนา และสานต่อ ความสัมพันธ์ใหม่ของมนุษยชาติต่อองค์พระคริสตเจ้า