หนังสือชุดนี้แบบฝึกปฏิบัติการนี้แบ่งออกเป็น 12 บทเรียน สำหรับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อตระหนักถึงสภาพความยุติธรรม (JUSTICE) และสันติสุข (PEACE) ในโลกขณะที่ศึกษาและไตร่ตรองตามหัวข้อเหล่านี้เราไม่สามารถขจัดข้อขัดแย้ง หรือกำจัดความ อยุติธรรมให้หมดไป แต่ข้อมูลและกิจกรรมที่บรรจุอยู่ในหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้วัยรุ่นได้เข้าใจตัวเอง ผู้อื่น  พระเจ้า และโลกรอบตัวเขา

ในการอบรม 6 ครั้งแรกจะมุ่งเน้นองค์ประกอบหลัก 4 อย่างเกี่ยวกับความยุติธรรม :

1. ปัจจัยการดำเนินชีวิตที่พอเพียง
แต่ละคนมีสิทธิในปัจจัยสี่ คือ อาหาร  ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม  และยารักษาโรค เพื่อการยังชีพตามอัตภาพและเพื่อวิถีที่ได้รับปัจจัยเหล่านี้โดยมีโอกาสการศึกษาและการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน

2. ศักดิ์ศรี หรือ การเห็นคุณค่า
แต่ละคนได้รับการสร้างขึ้นมาในภาพลักษณ์ และคล้ายคลึงกันของพระเจ้า  เพราะฉะนั้นจึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับการยอมรับ  ความมั่นใจ  และถือว่าเป็นปัจเจกบุคคลที่กอปรด้วยศักดิ์ศรี

3. การมีส่วนร่วม
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะช่วยกำหนดอนาคตของพวกเขา โดยมีส่วนร่วมในมิติด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และวัฒนธรรมที่จะช่วยในการกำหนดวิธีดำรงชีวิตของพวกเขา

4. ความเป็นปึกแผ่น
แต่ละคนรับผิดชอบที่จะให้ความเคารพ  ส่งเสริมและปกป้องสิทธิของตนเองเช่นเดียวกับสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหมายถึง การทำงานร่วมกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความอยุติธรรม  เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอันซึ่งทำให้พวกเขาเหล่านั้นต้องตกเป็นเหยื่อ

และในการอบรม 6 ครั้งสุดท้ายของหนังสือจะเน้นถึงสันติสุข การคืนดีกันและการให้อภัย  สิ่งเหล่านี้มีพื้นฐานอยู่บนการดำเนินชีวิตให้ผสานกลมเกลียวกับตนเอง ผู้อื่น  สิ่งสร้าง และกับพระเจ้า

ในแต่ละช่วงจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ ซึ่งเชื่อมโยงประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนเข้ากับสภาพของสันติสุขและความยุติธรรมในโลก  โดยอาศัยความสว่างแห่งพระคัมภีร์ นักเรียนจะสามารถเจริญวัยเข้าใจถึงสันติสุขและความยุติธรรม โดยอาศัยกิจกรรมหลากหลาย  การไตร่ตรองประจำวันจะช่วยให้ผู้เข้าอบรมบูรณาการข้อมูลที่มีอยู่กับความรู้สึกและประสบการณ์ของพวกเขาเอง การไตร่ตรองประจำวันจึงควรเก็บเป็นความลับเสมอ

การอบรมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามในบางช่วงอาจใช้เวลานานกว่านั้น  หากมีโครงการอื่นเสริมเข้ามา

บันทึกสำหรับวิทยากร

หนังสือชุดนี้ประกอบด้วยบทเรียน 12 บท (12 ช่วง) กับใบงานอีก 36 บทเรียนนั้นค่อนข้างยืดหยุ่น และสามารถดัดแปลงได้ตามความต้องการของชั้นเรียน แต่ละบทจะประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์เฉพาะ บันทึกของวิทยากร กระบวนการตามขั้นตอนสำหรับใช้ในชั้นเรียน และกิจกรรมเสริม คำตอบในใบงานจะมีหลากหลายโดยไม่ต้องชี้แนะแต่ประการใด

การค้นคว้า
วิทยากรให้ผู้เข้าอบรมค้นคว้าในบางครั้ง โดยอาจเลือกสื่อที่น่าสนใจจากห้องสมุดมาให้นักเรียนในชั้นเรียน หรือให้ผู้เข้าอบรมไปใช้ห้องสมุดของโรงเรียน การใช้วิธีการทั้งสองนี้  วิทยากรควรวางแผนและจัดเตรียมการล่วงหน้า

กิจกรรม
ควรทำกิจกรรมต่างๆ ให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด  แต่ก็มีบางกิจกรรมที่สามารถทำเป็นการบ้านได้
กิจกรรมหลากหลายนั้นประกอบไปด้วย  การทายปัญหา การค้นคว้า การแบ่งกลุ่มศึกษาพระคัมภีร์ในกลุ่มย่อย การแสดงบทบาทสมมติ  การสัมภาษณ์และอื่นๆ ในกลุ่มใหญ่หากิจกรรมที่ท้าทายสำหรับผู้เข้าอบรมและวิทยากรเอง

การมอบหมายงาน
กิจกรรมเสริมที่อยู่ตอนท้ายของแต่ละบท สามารถนำมาใช้แทนแบบฝึกหัดได้ และสามารถนำมาใช้เพื่อเสริมในแต่ละหัวข้อ  ในการมอบหมายงานให้ผู้เข้ารับการอบรม ครูผู้สอนต้องหมั่นติดตามและตรวจสอบอยู่เสมอ

พระคัมภีร์
ผู้เข้ารับการอบรมควรใช้พระคัมภีร์  โดยขอแนะนำให้ใช้พระวรสารทั้งสี่ หรือพระคัมภีร์ฉบับคาทอลิกที่ได้รับการปรับปรุงใหม่

สภาวะแวดล้อม
เราหวังว่าในการสอนเรื่องสันติสุขและความยุติธรรม และโดยการเน้นถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของแต่ละคนจะบังเกิดผลตลอดชีพในการยอมรับ สันติสุข และการใช้สรรพสิ่งสร้างของโลกอย่างระมัดระวัง  ดังนั้น ควรสร้างบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ

บันทึกรายวัน
การไตร่ตรองประจำวันเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการตอบสนองที่ช่วยในการทบทวนชีวิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ควรเก็บการทบทวนชีวิตประจำวันเป็นความลับ

สื่อที่ใช้ในการอบรม
ควรใช้ภาพยนตร์และวีดีโอที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับเรื่องราวที่กำลังสอนในแต่ละบทเรียนมาประกอบการเรียนได้  ภายใต้ดุลพินิจของวิทยากร

ภาพยนตร์และวีดีโอแต่ละเรื่องควรมีเรื่องย่อซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการอธิบายหัวข้อ  ควรใช้โสตทัศนูปกรณ์ทั้งหมดอย่างเฉพาะเจาะจง  เรื่องใดมีความยาวเกินกว่า 15 นาที อาจจะตัดเสนอเฉพาะในบางส่วนของเนื้อหา และหลังจากจบตอนแล้วควรให้มีการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทันที

ท่านสามารถปรึกษากับผู้ดูแลสมุดหรือแผนกสื่อการสอนของสังฆมณฑลของท่าน ในการเลือกหาสื่อที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามการใช้สื่อในการสอน  จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผน  และเตรียมตารางเวลาไว้ล่วงหน้า

 

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของภาพยนตร์ หรือวีดีทัศน์ที่แนะนำสำหรับใช้ประกอบบทเรียนในแต่ละช่วง

การอบรมครั้งที่หนึ่ง เนื้อหา
วีดีทัศน์เรื่อง พู่กันปลายเท้า โดยสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทยและสังฆมณฑลอุดรธานี ความยาว 21 นาที

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชายหนุ่มผู้เกิดมาโดยปราศจากแขน ศิลปินผู้พากเพียรเรียนรู้ด้วยตนเอง ชื่อ ล อนสัน  โหล่คำ  เป็นชีวิตที่ไม่เคยยอมแพ้และไม่เคยสิ้นหวัง ชายคนนี้ได้วาดภาพชีวิตของเขาผ่านพู่กันกับปลายเท้า

การอบรมครั้งที่สอง   เนื้อหา
วีดีทัศน์รายการโทรทัศน์ “แสงธรรม” (ตอนที่ 12 : 12 มิ.ย. 37) : สารคดีสิ่งแวดล้อมโลก โดยสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ความยาว 30 นาที

เป็นสารคดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งสร้างของพระเป็นเจ้า  และมนุษย์เป็นศูนย์กลางและสูงค่าที่สุดในธรรมชาติที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างมา

วีดีทัศน์ สารคดีรักษ์สิ่งแวดล้อม : ตอนระบบนิเวศ , ความยาว 20 นาที  เป็นสารคดีเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเพียงพอซึ่งเป็นผลดีในอนาคต

การอบรมครั้งที่สาม เนื้อหา
วีดีทัศน์รายการโทรทัศน์ “แสงธรรม (ตอนที่ 9 : 25 เม.ย. 42 และตอนที่ 10 : 9 พ.ค. 42) : สารคดีเรื่องคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา ตอน 1 และ 2 โดย สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ความยาว 6 นาทีและ 9 นาที

คุณแม่เทเรซาได้ท้าทายเราให้ระลึกถึงคนยากจนผู้ที่ถูกทอดทิ้ง สังคมไม่ต้องการและอยู่อย่างโดดเ ดี่ยว  ท่านได้เตือนเราว่าเราได้รับเรียกให้เป็นธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมในสถานที่ๆเราอาศัยและทำงานอยู่

การอบรมครั้งที่สี่   เนื้อหา
วีดีทัศน์รายการโทรทัศน์ “แสงธรรม” (ตอนที่ 11 : 23 พ.ค. 42) เรื่อง ผู้อพยพผู้ลี้ภัย โดย สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ความยาว 7 นาที

เป็นภาพเหตุการณ์ผู้อพยพลี้ภัย จากอินโดจีนคือประเทศลาว, เวียดนาม, กัมพูชา (เขมร) เนื่องจากสภาวะสงครามและได้รับความช่วยเหลือจ ากประเทศไทยโดยการสนับสนุน  จากองค์การสหประชาชาติ และสำนักคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ลี้ภัยและประสบภัยแห่งประเทศไทย (โคเออร์) โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ  ศาสนา และทุกเพศทุกวัย  โดยสนับสนุนโครงการอาหาร, โครงการรักษาพยาบาล, โครงการฝึกอาชีพ  ให้การศึกษา ฯลฯ

การอบรมครั้งที่ห้า   เนื้อหา
วีดีทัศน์รายการโทรทัศน์ “แสงธรรม” (ตอนที่ 3 : 4 ก.พ. 39) เรื่อง กรรมกร (หยาดเหงื่อเพื่อใคร) โดย สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ความยาว 28 นาท

เป็นภาพการทำงานของกรรมกรส่วนใหญ่ และการจัดสวัสดิการต่างๆ เพื่อความเป็นอยู่ของกรรมกรในเมืองหลวง  เพื่อชีวิตที่ดีของกรรมกรเห ล่านั้น

การอบรมครั้งที่หก    เนื้อหา
ให้ใช้รูปภาพแทนวีดีทัศน์

การอบรมครั้งที่เจ็ด  เนื้อหา
วีดีทัศน์เรื่อง การเยี่ยมเยียน จัดแปลโดย ศูนย์คำสอนกรุงเทพฯ, ความยาว 30.55 นาที

เป็นภาพยนตร์แนว DRAMA ที่สะท้อนถึงการปฏิบัติความรักต่อเพื่อนมนุษย์ตามทางพระเยซูคริสตเจ้าโดยเฉพาะการปฏิบัติต่อผู้ที่ตกในชะตากรรมอันเลวร้ายที่ต้องเป็นโรคร้าย (โรคเอดส์) ที่สังคมยุคปัจจุบันรังเกียจ

หรือวีดีทัศน์ตอน คุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา ตอน 1 หรือ ตอน 2 (ดูการอบรมครั้งที่สาม)

การอบรมครั้งที่แปด เนื้อหา
วีดีทัศน์รายการโทรทัศน์ “แสงธรรม” (ตอนที่ 1 : 24 ก.ค. 37) เรื่อง ประชาคมโลก โดย สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ความยาว 9 นาที

ประชากรมากมายที่อาศัยในประเทศต่างๆ มีความต่างกันทางภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ภาษา วัฒนธรรม ความคิด  ความเป็นอยู่  โลกของเร ามี 3 ลักษณะที่ต่างกันคือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว กำลังพัฒนา และด้อยพัฒนา มวลประชากรจะมีความต่างกันแม้ในโลกใบเดียวกันประชาก รโลกต้องการมีความสันติสุขด้วยสันติวิธี มีมนุษย์มากมายขาดแคลนสิ่งจำเป็นการดำรงชีวิต  มีปัญหาความไม่เข้าใจ  การต่อสู้ เอาชนะกัน ด้วยอาวุธมากกว่าการยุติปัญหาที่เกิดขึ้น  เราแต่ละคนต้องร่วมมือกันซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความรักต่อกัน  ความรักเป็นเคล็ดลับมาสู่ความสุขใ นครอบครัว  และนำไปสู่สันติสุขในประเทศและในโลก  โดยการแบ่งปันช่วยเหลือกันเป็นต้น

การอบรมครั้งที่เก้า    เนื้อหา
วีดีทัศน์ IMPOSSIBLE DREAM ตอน LOVE YOUR NEIGHBOUR (จงรักเพื่อนบ้าน) โดยสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ความยาว 8 นาที

เป็นภาพยนตร์ใบ้ที่สื่อถึงสองครอบครัวซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกันและวันหนึ่งมีดอกไม้ดอกหนึ่งงอกขึ้นมาในแนวระหว่างบ้านของทั้งสอง  เขาจึงเริ่ มแย่งดอกไม้ดอกนั้นและเริ่มอยากจะเป็นเจ้าของ  เขาจึงคิดแผนการไม่ดีต่อกันและต่อสู้แย่งชิงกัน และเริ่มสร้างรั้วแบ่งเขตแดนบ้านทั้งสองโ ดยให้ดอกไม้นั้นอยู่ในเขตแดนของตนเอง  เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงต่อสู้กันมากขึ้นจนถึงขั้นรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด

การอบรมครั้งที่สิบ   เนื้อหา
วีดีทัศน์ สารคดีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ความยาวตอนละ 10-15 นาที

- การอนุรักษ์ธรรมชาติไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่เป็นภาระหน้าที่ของชาวโลกที่จะต้องช่วยกันรักษาไว้

- วีดีทัศน์เรื่องสารคดีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายตอนคือ
1. ระบบนิเวศ   2. อากาศเป็นพิษ      3. พิษสารตะกั่ว  4. สารซีเอฟซี    5. มลภาวะทางน้ำ      6. ขยะ
สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม

การอบรมครั้งที่สิบเอ็ด   เนื้อหา
วีดีทัศน์เรื่อง MARY JOHNSON (LENA MARIA) โดย สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, ความยาว 29 นาที

เป็นภาพยนตร์ต่อสู้ชีวิตของลีนา มาเรีย หญิงสาวผู้พิการชาวสวีเดน ไม่มีแขนทั้งสองข้าง  มีขาขวาปกติ แต่ขาซ้ายยาวแค่สี่นิ้ว  อยู่ในครอบครัวที่มีคุณพ่อคุณแม่ที่เอาใจใส่ดีมากและสนับสนุนเธอทุกอ ย่างจนทำให้ชีวิตของเธอมีอิสระในการทำทุกสิ่งทุกอย่างเงียบๆ และช่วยตัวเองได้ทุกอย่าง มีความสามารถพิเศษมากมาย เช่น ร้องเพลง  เล่นดนตรี ขับรถ  และเป็นนักกีฬาว่ายน้ำในโอลิมปิกคนพิการ เป็นต้น

การอบรมครั้งที่สิบสอง  เนื้อหา
วีดีทัศน์เรื่อง ฮีโร่ จัดแปลโดยศูนย์คำสอนกรุงเทพฯ, ความยาว 25 นาที

เป็นเรื่องราวของมาร์ควัยรุ่นที่ชอบสนุกสนาน เขาได้ขับรถชนจอห์นซึ่งเป็นลูกชายคนเดียวที่แม่เขามีอยู่ ไม่มีพ่อ จึงทำให้แม่เสียใจมาก รู้สึ กเป็นทุกข์ใจและโกรธแค้นมาร์คที่ขับรถชนลูกชายของเขาและไม่มีวันให้อภัยมาร์คถ้าลูกของเขาไม่รอด  มีพระสงฆ์องค์หนึ่งได้ให้กำลังใจทั้งแม่ของจอห์นพร้อมทั้งมาร์คด้วย สอนให้เรารู้จักภาวนาการให้อภัย สำหรับคนที่เราไม่ชอบ

หรือวีดีทัศน์เรื่อง พ่อให้อภัย ผลิตโดยศูนย์โทรทัศน์วาติกัน จัดแปลโดยศูนย์คำสอนกรุงเทพฯ,
ความยาว 26 นาที
ในปี 1983/2526 พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยี่ยมเมห์เม็ต อาลี อาจา ในเรือนจำ  ผู้ซึ่งพยายามปลงพระชนม์พระองค์เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงให้อภัยและต้องการช่วยชีวิตผู้ที่ทำร้าย พระองค์  นับเป็นความจำเป็นยิ่งที่แบบอย่างของความมีใจกว้างนี้จะต้องถูกแสดงให้เห็น เพราะในโลกปัจจุบันมักจะถูกละเลยความเมตตากรุณาอยู่เสมอๆ

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม
อาคารเลขที่ 122/11 ซ.นนทรี 14 (ซ.นาคสุวรรณ)  ถ.นนทรี  ยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120